Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78737
Title: | การขออนุญาตการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ออนไลน์ |
Authors: | สุปิยะ ติงวสุธาร |
Advisors: | วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | แพทย์ โฆษณา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แต่เดิมการขายสินค้าโดยทั่วไปจะต้องมีหน้าร้านหรือแผงสำหรับการขายสินค้า โดยอาจต้องเช้าพื้นที่ในห้าง หรือต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆ นอกจากผู้ขายยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวางที่ร้าน และผู้ซื้อจะต้องไปซื้อในสถานที่ซื้อขาย แต่ในปัจจุบันธุรกิจในโลกออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram หรือโปรแกรมประยุกต์อย่างแอพพลิเคชั่น line ซึ่งเป็นสังคมแห่งข่าวสารเปิดกว้าง ผู้บริโภคมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศได้อย่างง่าย ถือเป็นการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องพบกัน แต่ใช้การติดต่อขายทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกรูปแบบสินค้าทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก การขายออนไลน์นั้นสามารถโฆษณาสินค้าได้ง่ายเพียงแค่ลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของสินค้าในเว็บไซต์ก็สามารถขายของได้ ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ สามารถตั้งชื่อร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ ดังนั้น จะเห็นว่าการขายออนไลน์มีใช้ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน การขายออนไลน์นั้นสามารถขายได้ทุกวัน อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลา ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขายของได้ตลอดเวลา ในขณะที่ปัจจุบันนั้นการขายออนไลน์มีสินค้ามากมายที่ผู้ขายนำมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งสินค้าบางประเภทอาจเป็นสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุม หรือต้องมีการตรวจสอบก่อนที่จะนำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขายเครื่องมือการแพทย์ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่ปัจจุบันพบว่า การขายเครื่องมือแพทย์ทางออนไลน์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีการโฆษณาที่สรรพคุณเกินความเป็นจริง การโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น โฆษณาอุปกรณ์บำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ที่มีความต่างศักยภาพสูง...ทดลองใช้ฟรีอาการที่รักษา ได้ดี : ปวดศีรษะ ท้องผูก นอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดไหล่ ใช้เวลาเพียงวันละ 20 นาทีรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศไต้หวัน...” หรือการโฆษณาเครื่องตรวจออกซิเจนในเลือดที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ติดตามโรค หรืออาการบาดเจ็บ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่โฆษณาเกินจริงว่าสามารถใช้วินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยาได้ชี้แจงว่าไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ข้อความโฆษณาเกินจริงดังกล่าวพบว่ายังไม่ได้ทำการขออนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จากคณะกรรมการอาหารและยา แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการถึงการโฆษณาสรรพคุณเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาก่อนปรากฎตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 24 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะขายเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา 6 (3) ให้ยื่นคำขออนุญาตและเมื่อผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้แล้วจึงจะขายเครื่องมือแพทย์นั้นได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยกระบวนการพิจารณาอนุญาตจะต้องเป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ในทางปฏิบัติยังพบว่ามีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์มีจำนวนมากเห็นได้ว่าจากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในแต่ละปีพบว่ากว่าร้อยละ 60 เป็นการร้องเรียนโฆษณาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ และสมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะต้องได้รับอนุญาตโฆษณาจากคณะกรรมการอาหารและยาก่อนจึงจะสามารถโฆษณาได้เห็นได้ว่า จากการที่ผู้ขายไม่ได้ขออนุญาตโฆษณาสำหรับการขายเครื่องมือทางการแพทย์ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั้งคุณภาพของเครื่องมือการแพทย์ รวมถึงในกรณีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภคด้วย ผู้วิจัยจึงต้องการจะศึกษาแนวทางการจำหน่ายและโฆษณาเครื่องมือแพทย์ออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่ควรจะได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการ สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้า หรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า หรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78737 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.191 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.191 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380041834.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.