Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78738
Title: | แนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) : ศึกษากฎทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-tax Avoidance Rules) |
Authors: | สุภาวี ไกรทอง |
Advisors: | ทัชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเลี่ยงภาษี การจัดเก็บภาษี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2564 ที่มีสาระสำคัญในการ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการนำข้อมูลผู้มีถิ่นฐานทางภาษีของประเทศคู่สัญญา ที่ถือครอง บัญชี หรือมีบัญชีที่เข้าข่ายต้องถูกนำส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เป็นรายปี ด้วยวิธีบันทึกลงในฐานข้อมูล ตามมาตรฐานและการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลที่กำหนดโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และกรมสรรพากรไทยจะได้รับข้อมูลทางบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่เพื่อการ จัดเก็บภาษีในไทยส่งกลับมาเช่นกัน จากการวิเคราะห์มาตรการตามร่างพระราชบัญญัติฯ พบว่า เมื่อได้รับข้อมูลทางบัญชีจากการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศจากประเทศภาคีที่ทำตามความตกลง หากพบความ ผิดปกติ เช่น มีแนวโน้มกระทำธุรกรรมเพื่อเลี่ยงภาษี กฎหมายไทยยังไม่มีการบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในเรื่องดังกล่าวในการตรวจสอบผู้ที่กระทำการจงใจเลี่ยงภาษีด้วยการย้ายเงินได้ เงินทุน ประกอบธุรกรรมในต่างประเทศ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินใน ยุคดิจิทัล การลงทุนในรูปแบบต่างๆ นั้นมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและในบางครั้งอาจเกินกว่าที่ข้อ กฎหมายจะสามารถระบุออกมาได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เท่า ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จึงศึกษาแนวทางการบัญญัติกฎ ทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-tax Avoidance Rules) และเสนอให้ เพิ่มมาตรการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ และกำหนดกลไกทางกฎหมายอย่าง ครบถ้วนในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ เพื่อพิจารณาในประเด็นการ กระทำที่มีเหตุจูงใจ หรือเชื่อได้ว่าจงใจเลี่ยงภาษีรวมถึงหลักการรายงานข้อมูลเงินได้นอกประเทศไม่ ว่าจะนำเงินได้กลับเข้าประเทศหรือไม่ โดยการระบุขั้นต่ำของยอดเงินในบัญชีและประเภทของเงินได้ ที่ต้องรายงาน รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเข้า รายงานโดยตรงต่อหน่วยงานทางภาษีที่เกี่ยวข้อง หากไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ในอดีตที่มีผลสืบเนื่องทางภาษี และมีการลดหย่อนโทษที่อาจเกิดขึ้นหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูก ตรวจสอบ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติในการจัดเก็บภาษีบนเงินได้ ดังกล่าวได้ในอนาคต |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78738 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.192 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.192 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380042434.pdf | 819.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.