Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8027
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต | - |
dc.contributor.author | สุภาพรรณ จันทร์เรือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2008-09-08T02:45:36Z | - |
dc.date.available | 2008-09-08T02:45:36Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741742282 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8027 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในวัยรุ่นตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 464 คน โดยแบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 220 คน และนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด และแบบวัดปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญา ได้แก่ แบบวัดเข้มแข็งอดทน แบบวัดการรับรู้ความสามรรถในตนเองในลักษณะทั่วไป และแบบวัดพันธะผูกพันสำหรับวัยรุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) โดยวิธีการคัดเลือกตัวแปรเข้าสมการจำแนกกลุ่ม (Stepwise) ด้วยค่าสถิติทดสอบวิคล์ส แลมดา (Wilks' Lambda) ผลการวิจัย 1. การรายงานสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดของกลุ่มตัวอย่างนักเรียน พบว่า การรับรู้สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในสามอันดับแรก ได้แก่ การเรียน ครอบครัว และเศรษฐกิจ 2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเรื่องการเรียน ได้แก่ ความอดทนเข้มแข็ง และการมีพันธะผูกพัน 3. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเรื่องครอบครัว ได้แก่ ความอดทนเข้มแข็ง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง 4. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ ได้แก่ ความอดทนเข้มแข็งเพียงปัจจัยเดียว 5. ความอดทนเข้มแข็งเป็นปัจจัยร่วมที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดทั้งสาม โดยที่การมีพันธะผูกพันเป็นปัจจัยประกอบที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเรื่องการเรียน ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเป็นปัจจัยประกอบที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดเรื่องครอบครัว | en |
dc.description.abstractalternative | This research study aimed to identify factors that were related to cognitive appraisal of stressors in middle adolescents. Participants were 464 students: 220 Mathayom suksa sixth students and 244 third-year vocational students. Research instruments were those measuring stressors and cognitive appraisal, with the latter including the Hardiness Scale, General Self-efficacy Scale and Commitment Scale for adolescents. Data were analyzed using the Discriminate Function Analysis with the stepwise method. Findings were as follows: 1. The participants identified the top-three stressors as those related to their studies, family, and economy. 2. Factors that were related to the participants' cognitive appraisal of their studies as a stressor were their hardiness and commitment. 3. Factors that were related to the participants' cognitive appraisal of their family as a stressor were their hardiness and self-efficacy. 4. The factor that was related to the participants' cognitive appraisal of their economy as a stressor was their hardiness. 5. Hardiness was the common factor that was related to the cognitive appraisal of the three stressors, while commitment was a factor that was related to the appraisal of study as a stressor and self-efficacy was a factor that was related to the appraisal of family as a stressor. | en |
dc.format.extent | 1654037 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความเครียดในวัยรุ่น -- ไทย | en |
dc.subject | วัยรุ่น -- ไทย | en |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการประเมินทางปัญญาในสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดในวัยรุ่นตอนกลาง | en |
dc.title.alternative | Factors related to cognitive appraisal of stressors of middle adolescents | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected], [email protected] | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supapan_Ch.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.