Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8040
Title: | การวิเคราะห์ฝนแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย |
Authors: | สุจริต คูณธนกุลวงศ์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ฝนแล้ง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ฝน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Series/Report no.: | โครงการวิจัยเลขที่ 30G-CE-2530 |
Abstract: | ปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วงในฤดูการเพาะปลูก เป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตโดยเฉพาะข้าวตกต่ำ อันจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคหนึ่งของประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวมาตลอด การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำจะต้องหาน้ำที่พืชต้องการมาชดเชยจากแหล่งอื่น ซึ่งอาจจะมาจากเขื่อน, ฝาย, บึงหนอง หรือสระน้ำที่ขุดขึ้น และในปัจจุบันยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวนฝนทิ้งช่วงที่แน่นอนภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นข้อมูลหนึ่งที่จำเป็นในการวางแผนออกแบบและจัดการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำข้อมูลฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนกว่า 85 สถานีภายในภาคมาวิเคราะห์หาจำนวนวันฝนทิ้งช่วง และฝนน้อย และการหาการกระจายของจำนวนวันฝนทิ้งช่วงดังกล่าวเคยได้ทดสอบการกระจายกับสมการการกระจายทั้งหมด 7 สมการ คือ สมการ truncated Normal, 2 parameter longnormal, 3 parameter longnormal, Type I exteremal, Pearson Type III, Longpearson Type III, Type III extermal พร้อมกันนั้นก็หาช่วงเวลาที่เกิดฝนทิ้งช่วงด้วย ผลการศึกษาพบว่า สมการการะกระจายแบบ 3 Parameter longnormal ในค่าที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากที่สุด ภาวะฝนทิ้งช่วงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดในเดือนมิถุนายน และมีจำนวนระหว่าง 10-45 วัน แล้วแต่พื้นที่และโอกาสเกิด พื้นที่ของภาคสามารถแบ่งออกเป็น 4 เขต ได้ตามความรุนแรงของภาวะฝนทิ้งช่วง ผลการศึกษาครั้งนี้วาดลงให้แผนที่แสดงจำนวนวันที่ฝนจะทิ้งช่วงหรือตกน้อย (น้อยกว่า 10,20,30 มม) ในโอกาสเกิดต่างๆ เช่น 50,20,10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในการประมาณจำนวนวันฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ต่างๆทั่วทั้งภาค |
Other Abstract: | Dry spell during cultivation period is important obstacle to rice cultivation and the phenomena decrease the rice production yield. The phenomena make a great impact on farmers in rural area especially on socioeconomical aspect. Northeastern Thailand is an area which suffer from dry spell problem. The counter measure is to find supplementary water from other sources i.e. dam, weir, swamp or digged pond. At present there is no systematic analysis on dry spell phenomena in Northeastern area. This data is necessary for water resources planning design and management. This study analysed observed daily rainfall from 85 rainfall stations in the study area to find dry spell duration distribution. Seven distribution equations e.g. Truncated Normal, 2 parameter longnormal, 3 parameter longnormal, Type I Extremal, pearson Type III, Longpearson Type IV, Type IV extremal equations, were tested to find their fitness. The results show that 3 parameter longnormal distribution equation is most suited to the observed data compared to the results from other six distribution equations. The dry spell in the Northeast area tends to occur during June with the range of 10-45 days depending on area and occurrence percentage. The study area can be divided into four subarea due to the dry spell intensity. The results obtained from the study were plotted in map with dry spell of less than 0, 10, 20, 30 mm and occurrence percentage of 50, 20, 10, This map can be used to interpolate the dry spell duration in the Northeastern area. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8040 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujarit_analysed.pdf | 16.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.