Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/804
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ | - |
dc.contributor.advisor | ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล | - |
dc.contributor.author | กฤษณ์ เจริญธุระกิจ, 2517- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-17T03:04:25Z | - |
dc.date.available | 2006-07-17T03:04:25Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740310532 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/804 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ว่า จะสามารถนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาผู้ป่วยมาใช้แก้ไขหรือป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายเพราะป่วยทางจิต ได้เพียงใดหรือไม่ และการเสนอร่างพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสุขภาพจิต (ด้านการบังคับรักษา) เพื่อแก้ไขหรือป้องกันปัญหาดังกล่าวจะสมประโยชน์แก่ผู้ป่วยทางจิตที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ประการแรก การฆ่าตัวตายเพราะป่วยทางจิตสามารถป้องกันได้โดยใช้เครื่องมือทางกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการค้นหาและนำผู้ป่วยทางจิตมาบำบัดรักษา การวิจัยเปรียบเทียบกฎหมายสุขภาพจิตของ มลรัฐนิวยอร์ก อังกฤษและญี่ปุ่นทำให้พบวิธีการทางกฎหมายที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือเร็วขึ้นเพื่อลดโอกาสหรือความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจฆ่าตัวตาย และ ประการที่สอง จากการศึกษายังพบอีกว่ามีประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสุขภาพจิตที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ป่วยอยู่ด้วย ได้แก่ สิทธิส่วนบุคคลที่จะปฏิเสธการรักษาที่โต้แย้งกับผลประโยชน์สาธารณะที่รัฐได้รับจากการรักษาชีวิตผู้ป่วยทางจิตที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย และแนวคิด Parens Patriae ที่ให้รัฐในฐานะผู้ปกครองมีอำนาจนำบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตที่มีพฤติกรรมที่น่าจะเป็นอันตรายต่อตนเองไปรักษาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลนั้น ส่วนเครื่องมือที่เป็นกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยจิตเวชคดีและไม่ครอบคลุมเพียงพอ ขาดความชัดเจน ไม่สอดคล้องกับการนำผู้ป่วยมารักษาเพื่อแก้ไขหรือป้องกันการฆ่าตัวตายโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามก็ได้มีความพยายามเสนอร่างพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสุขภาพจิตด้านการบังคับรักษาที่ยึดถือตามแนวทางของต่างประเทศ หากแต่ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างของกฎหมายฉบับนี้ยังไม่สมประโยชน์กับผู้ป่วยทางจิตที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเพื่อประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางจิตที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายจะได้รับจากการรักษาตามร่างพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสุขภาพจิต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนะให้ มีการปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมข้อกฎหมายโดยนำหลักเกณฑ์ การกำหนดประเภท หรือลักษณะผู้ป่วยที่มีความจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสุขภาพจิตกรณีฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพจิตในชุมชนหลังการรักษาในศูนย์ฟื้นฟูฯ การจำกัดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย การกำหนดองค์กรที่มีความเป็นกลางในการทบทวนความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วย การกำหนด ความรับผิดของแพทย์กรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการปล่อยตัวไป ความรับผิดของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยตามความเป็นจริง กรณีไม่ใช้ความระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายมาแล้ว และความรับผิดของผู้ที่รับผิดชอบ กรณีทอดทิ้งผู้ป่วยไปจากการดูแลในชุมชน ซึ่งการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในกฎหมายจะทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study and analyse the probability of solving the problem of suicide by using the law relating to the treatment of patient and whether the proposed Draft Bill on the Rehabilitation of the Mentally Ill Patients (Involuntary Commitment to Mental Institution) will truly benefit the patient of suicidal risk. This study reveals that, firstly, an instrument of law that allows early warning and early treatment of patient can prevent suicide as a result of mental illness. Comparative study of Mental Health Law of New York, UK., and Japan shows the methods of rapid detection for treatment that greatly reduce the risk of suicide. Secondly, there are sensitive issues concerning the right to refuse treatment that must be considered, particularly when the treatment shall be in contrast with public interest. Moreover, the concept of parens patriae may over-ride individual right when the treatment is given for the patients interest. Existing legal instruments in Thailand concern mostly withpsychiatric disordered patients and perpetrators of crime. The laws are not complete, lack of clarity which usually resulted in different modes of practical treatment. The proposed Draft Mental Health Bill under consideration of the Ministry of Health that may be of much help in this regard is also silence in dealing with suicidal person. This thesis proposes the amendments of the pending Draft Mental Health Bill as follows: There must be provisions for the classification of special group of patient in emergency case; after-care under supervision; limitation of discretion of medical officers; establishment of neutral organization to review treatment methods; providing for an offence for any medical officer who fails to comply with the standard of practice and cause premature discharge of patient; provide for an offence for person who is responsible for the suicidal patient and does not given due care; provide for an offence for any person who is willfully neglect patient who is under community after-care supervision. | en |
dc.format.extent | 1290124 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การฆ่าตัวตาย | en |
dc.subject | กฎหมายสุขภาพจิต | en |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช | en |
dc.title | กฎหมายกับสุขภาพจิต : ศึกษาเฉพาะกรณีการฆ่าตัวตายเพราะป่วยทางจิต | en |
dc.title.alternative | Law & mental health : a case study of suicide as a result of mental illness | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.