Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8357
Title: | การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์แบบทดสอบในนิตยสารไทย |
Other Titles: | A discourse analysis of quizzes in Thai magazines |
Authors: | ยาภา ลิ่วเจริญชัย |
Advisors: | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ วารสารไทย -- ภาษา พฤติกรรม -- แบบทดสอบ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของปริจเฉทแบบทดสอบในนิตยสารไทยและกลวิธีทางภาษาในการชี้นำผู้อ่านในปริจเฉทแบบทดสอบในนิตยสารไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากแบบทดสอบในนิตยสารไทย 6 ชื่อ ได้แก่ นิตยสารพลอยแกมเพชร เรื่องผู้หญิง ไอซ์ เธอกับฉัน เดอะบอย ตั้งแต่ปี 2544-2545 และแฮมเบอร์เกอร์ตั้งแต่ปี 2545-2546 โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง ได้แบบทดสอบในนิตยสารไทยชื่อละ 12 ฉบับ รวมข้อมูลแบบทดสอบทั้งสิ้น 82 ปริจเฉท จากการศึกษาภาพรวมและปริบทของแบบทดสอบในนิตยสารไทยตามกรอบ SPEAKING ของHYMES พบว่า แบบทดสอบในนิตยสารไทยมิได้เป็นเพียงชุดคำถามคำตอบและไม่ได้มีลักษณะของเกมที่สนุกสนานเท่านั้น แต่แบบทดสอบมีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านรู้หรือเข้าใจในประเด็นที่แบบทดสอบนำเสนอพร้อมทั้งนำเสนอคำแนะนำหรือวิธีแก้ไขปรับปรุงบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้อ่านอีกด้วย ผลการศึกษาเรื่องโครงสร้างของแบบทดสอบพบว่า แบบทดสอบมีโครงสร้างกระสวนปัญหาทางแก้ไข โดยโครงสร้างนี้จะนำเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาให้กับผู้อ่าน นำผู้อ่านไปสู่ความสงสัยในพฤติกรรมของตน และกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความปรารถนาที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้มีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการศึกษาเรื่องกลวิธีทางภาษาในการชี้นำผู้อ่านในปริจเฉทแบบทดสอบ พบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธีทางภาษาในการชี้นำผู้อ่านทั้งสิ้น 5 กลวิธี แบ่งเป็นกลวิธีการชี้นำ 3 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการใช้รูปประโยคคำสั่ง กลวิธีการใช้คำแสดงเจตนาในการชี้นำ กลวิธีการใช้คำกริยา "เตือน" และกลวิธีเสริมการชี้นำ 2 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีโน้มน้าวใจ และ กลวิธีความสุภาพ นอกจากนี้แบบทดสอบได้นำเสนออุดมการณ์/อุดมทรรศน์ 3 เรื่อง อุดมการณ์/อุดมทรรศน์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้หญิงที่ผู้ชายปรารถนา อุดมการณ์/อุดมทรรศน์ว่าด้วยความสมดุลระหว่างการเป็นผู้ให้และผู้รับ และอุดมการณ์/อุดมทรรศน์ว่าด้วยความเป็นคนโดยสมบูรณ์ |
Other Abstract: | The study aims at examining the macro-structure and the advising strategies in quizzes in Thai magazines. The data includes 72 quizzes in Thai magazines - - Ploygampetch, Woman's story, Ice, Tergubchan, The boy, over the period of 2001-2002 and Hamburger, over the period of 2002-2003. A contextual analysis based on SPEAKING frame reveals that quizzes in Thai magazines are not only multiple-choice tests or games. In fact, the aim of the discourse is to point out some imperfections in the reader's character as well as to provide advices to develop an agreeable personality. An analysis of the macro-structure of quizzes reveals that all quizzes elicited are in the form of Hoeys problem-solution structure. This problem-solution structure plays a crucial role in presenting endlessly problematic situation to the reader, leading the reader to wonder about her/his behavior, and stimulating her/his wish to develop an agreeable personality. As for an analysis of advising strategies, it is found that quizzes in Thai magazines adopt 2 types of strategies -- the on-record strategies of advice and the additional strategies including politeness and persuasive devices. In addition, it appears that quizzes in Thai magazines convey some sets of beliefs such as the concept of the perfect womanhood and the concept of the perfect human being. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8357 |
ISBN: | 9741418027 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.