Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8456
Title: | การพัฒนาเครื่องมือและโมเดลการวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก |
Other Titles: | A development of instruments and the measurement model of mentoring effectiveness in nursing For the Royal Thai Army hospitals |
Authors: | วัลลภา บุญรอด |
Advisors: | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา เอมอร จังศิริพรปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | พยาบาลพี่เลี้ยง การพยาบาล ประสิทธิผลองค์การ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1) คุณลักษณะของพยาบาลที่จะพัฒนาให้เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิผล 2) พัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก 3) พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล ของพยาบาลในสังกัดกองทัพบก และ 4) ตรวจสอบโมเดลการวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลพี่เลี้ยงที่เป็นผู้มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี จำนวน 193 คน กับพยาบาลสำเร็จใหม่ จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล การศึกษาคุณภาพของเครื่องมือใช้ 1) การวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหา 2) การวิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 3) การวิเคราะห์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของพยาบาลที่จะพัฒนาให้เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย ทัศนคติของพี่เลี้ยง บุคลิกภาพของพี่เลี้ยง แรงจูงใจในการเป็นพี่เลี้ยง ความพร้อมในการเป็นพี่เลี้ยง หน่วยงานหรือองค์กรต้องให้การสนับสนุนหรือสร้างเสริมพี่เลี้ยงในด้านภาวะผู้นำ การฝึกอบรม และระยะเวลาของการมีพี่เลี้ยง ผลที่คาดหวังจากการใช้ระบบพี่เลี้ยงทางการพยาบาลคือ เพิ่มบทบาทหน้าที่การเป็นพี่เลี้ยง ลดความเครียดในงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ และความพึงพอใจในงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ 2. โมเดลการวัดประสิทธิผลพี่เลี้ยงทางการพยาบาล สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 3 ตัวคือ ปัจจัยนำเข้าเพื่อการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาล กระบวนการใช้พี่เลี้ยงทางการพยาบาล และผลผลิตที่เกิดจากใช้พี่เลี้ยงทางการพยาบาล ตัวแปรสังเกตได้มี 13 ตัวคือ ทัศนคติของพี่เลี้ยง บุคลิกภาพของพี่เลี้ยง แรงจูงใจในการเป็นพี่เลี้ยง ความพร้อมในการเป็นพี่เลี้ยง ความต้องการพี่เลี้ยงของพยาบาลสำเร็จใหม่ ภาวะผู้นำของพี่เลี้ยง การฝึกอบรมของพี่เลี้ยง ระยะเวลาของการมีพี่เลี้ยง การมอบหมายพี่เลี้ยง บทบาทหน้าที่การเป็นพี่เลี้ยง ความเครียดในงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ สมรรถนะในการทำงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ และความพึงพอใจในงานของพยาบาลสำเร็จใหม่ 3. เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดตัวแปรสังเกตได้ 13 ตัว ประกอบด้วย 136 รายการซึ่งมี 2 ลักษณะคือ เป็นมาตรประมาณค่าของลิเคิร์ต 5 ระดับ มีจำนวน 135 รายการ และการเติมคำในช่องว่างจำนวน 1 รายการ 4. ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของเครื่องมือมีค่าเท่ากับ 0.97 ความตรงตามโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าไค-สแควร์ที่ได้มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โมเดลประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบกสามารถอธิบายความแปรปรวณในตัวแปรประสิทธิผลการเป็นพี่เลี้ยงทางการพยาบาลได้ร้อยละ 63.05 เป็นโมเดลที่สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 14.51, p=0.99, ที่องศาอิสระ 33, GFI =0.99 AGFI=0.97 และ RMR =0.02 |
Other Abstract: | To 1) study the characteristics of staff nurses for developing to be an effective mentor 2) develop the measurement model of mentoring effectiveness in nursing (MEN) for the Royal Thai Army (RTA) hospitals 3) develop instruments for measuring of MEN for the RTA hospitals and 4) test the measurement model of MEN for the RTA hospitals. The sample consisted of 193 mentor-nurses and 193 novice-nurses. The research instruments were the MEN questionnaire using the 5 level of Likert's scale developed by the researcher. The quality of instruments were validated by 1) The item objective congruence (IOC) analyses were used to determine the content validity 2) the confirmatory factor analyses were performed to determine the construct validity through LISREL and 3) Cronbach's alpha internal consistencies were estimated for the reliability of the scales. According to the study, it is found that 1. The characteristics of effective mentoring nurses were attitude, personality, motivation of being mentors, and readiness of being mentors. The organization should provide the improving leadership, quality of training, quality of assignment, and time of relationship. The expected outcomes were the improvement of mentoring roles and functions, novices' job competency and novices' job satisfaction and reduced novices' work stress. 2. The MEN model for The Royal Thai Army hospitals consisted of 3 latent variables of input, process, and output of mentoring in nursing and 13 observed variables of mentors' attitude, mentors' personality, motivation of being mentors, readiness of being mentors, needs of mentor by novice-nurses, mentors' leadership, quality of training, quality of assignment, time of relationship, mentoring roles and functions, novice-nurses' work stress, novice-nurses' job competency and novice-nurses' job satisfaction. 3. The developed MEN instruments contained 136 items measuring 13 factors. There were two styles for response to this questionnaire: 135 items were the 5 level of Likert's rating scale and one word completion. 4. The internal consistencies reliability of the MEN scales is 0.97. The measurement model of MEN for The RTA hospitals was consistent with the empirical data. This MEN model accounted for 63.05% of variance in the MEN variable. The model validation of the best-fitted model provided with chi-square goodness-of-fit model of 14.51, p = 0.99, df = 33, GFI = 0.97, and RMR = 0.02. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8456 |
ISBN: | 9741437978 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wallapa.pdf | 6.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.