Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8553
Title: การพัฒนากระบวนการส่งเสริมพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน
Other Titles: Process development for the enhancement of teachers' behaviors in promoting preschoolers' self discipline using reflection and internalization concepts
Authors: นฤมล เนียมหอม
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
น้อมศรี เคท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: วินัยของเด็ก
การควบคุมตนเองในเด็ก
การศึกษาปฐมวัย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการส่งเสริมพฤติกรรมของครู ในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัยโดย ใช้แนวคิดการสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการฯ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย 3) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการฯ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูประจำชั้นอนุบาล 8 คน และเด็กอนุบาล 207 คน ของโรงเรียนพระสมุทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การพัฒนากระบวนการฯ ขั้นที่ 2 การทดลองนำร่อง ขั้นที่ 3 การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการฯ ขั้นที่ 4 การทดลองใช้กระบวนฯ ขั้นที่ 5 การปรับปรุง แก้ไข และนำเสนอกระบวนการฯ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กระบวนการส่งเสริมพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน มีสาระสำคัญประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการฯ วัตถุประสงค์ของกระบวนการฯ สาระการเรียนรู้ของกระบวนการฯ การดำเนินการตามกระบวนฯ และการประเมินผลการดำเนินการตามกระบวนการฯ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการตามกระบวนการฯ 3 ขั้น คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ คือ การที่ครูเข้าร่วมกระบวนการฯ ด้วยความสมัครใจ และการที่ผู้ใช้กระบวนการฯ ยอมรับนับถือในตัวครูและมีบทบาทเสมือนเพื่อนที่จะมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครู 2) การให้ความรู้ที่ชัดเจน เรื่อง การสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย โดยการอบรม และการใช้แบบประเมินพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย 3) การช่วยให้ครูปรับเปลี่ยนข้อความรู้ไปสู่การเรียนรู้อย่างแท้จริง ประกอบด้วยการสะท้อนความคิดของครูผ่านการเขียนบันทึก และการสนทนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพ การชี้แนะด้วยการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการและการเสริมความรู้ตามความสนใจและความต้องการของครู และการปฏิบัติงานอย่างอิสระของครู ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ครูเกิดการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเปิดใจยอมรับ ระยะที่ 2 การปรับตัว ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 การสร้างความคิดรวบยอด และช่วงที่ 2 การจัดระบบให้สมดุล ระยะที่ 3 การผสมผสานแนวคิดใหม่กับตนเอง 2. คะแนนพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัยในด้านการเป็นแบบอย่าง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็ก การดูแลเด็ก และการจัดสภาพแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.คะแนนพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยในด้านความอดทน อดกลั้น ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการปฏิบัติตามมารยาทสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to develop the process for the enhancement of teachers' behaviors in promoting preschoolers' self discipline by using reflection and internalization concepts, 2) to study the effect of using the process to change teachers' behaviors in promoting preschoolers' self discipline, and 3) to study the effect of using the process to change preschoolers' self discipline. The samples were eight preschool teachers and 207 preschoolers of Phrasamut School, The Office of Samutsongkhram Educational Service Area. The research methods used were five stages 1) developing the process, 2) pilot study, 3) revising the process, 4) field testing, and 5) refining and proposing the developed process. Research results were as follows 1. The process for the enhancement of teachers' behaviors in promoting preschoolers' self discipline by using reflection and internalization concepts consisted of foundation concepts, objectives, contents, operational procedures, and evaluation of the process. Three stages of operational procedures were 1) conducting positive relation and trust: engaging the process voluntarily, respecting for the teachers, and making appearance as co-learner; 2) providing explicit knowledge in promoting preschoolers' self discipline: training and using teacher behavior in promoting preschoolers' self discipline measurement; and 3) transforming explicit knowledge to virtual learning: teachers' reflection through dialogue journals and professional conversation, coaching through informal conversation and providing more knowledge as teachers' need, and teachers' independent operation. These elements affected teachers' internalization in three periods 1) open-minded acceptance, 2) whole-hearted reformation that was conceptualization and organization, and 3) responsive attribution. 2. The post-test score on teachers' behaviors in promoting preschools' self discipline the four areas: modeling, preparing learning experiences, child rearing, and preparing environment was significantly higher than that of pre-test at the .05 level. 3. The post-test score on preschoolers' self discipline in four areas: self-control, self-responsibility, public-responsibility, and social manner performance was significantly higher than that of pre-test at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8553
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.559
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nareumon.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.