Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8699
Title: การตรวจเฝ้าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณเกาะค้างคาว เกาะนกและเกาะไผ่จังหวัดชลบุรีโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพใต้น้ำ : รายงานวิจัย
Other Titles: Monitoring on structural change in coral communities at Khang Kao Island, Nok Island and Phai Island, Chonburi province by underwater photogrammetry
Authors: อานุภาพ พานิชผล
เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง
Email: [email protected]
[email protected], [email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แนวปะการัง -- ไทย -- ชลบุรี
การถ่ายภาพใต้น้ำ
เกาะค้างคาว (ชลบุรี)
เกาะนก (ชลบุรี)
เกาะไผ่ (ชลบุรี)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจเฝ้าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณเกาะค้างคาว เกาะนก และเกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี โดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพใต้น้ำ ได้ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม 2546 บริเวณเกาะค้างคาว (สถานี KK-A และ KK-C) เกาะนก (สถานี NOK-E และ NOK-W) และเกาะไผ่ (สถานี PHA-E และ PHA-W) ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของปะการังแยกตามรูปแบบปะการังมีชีวิตและปะการังตาย พบว่า เกาะค้างคาว สถานี KK-A มีปะการังมีชีวิตร้อยละ 70.58+-22.46 และปะการังตายร้อยละ 2.05+-2.09 ส่วนสถานี KK-C มีปะการังมีชีวิตร้อยละ 68.53+-19.02 และปะการังตายร้อยละ 3.70+-2.87 โดยในทุกสถานีมีสัดส่วนของปะการังมีชีวิตต่อปะการังตายสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปะการังยังคงมีความสมบูรณ์อยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปะการังในเกาะค้างคาวที่สถานี KK-A และ KK-C ในปี 39 และปี 46 พบว่า สถานี KK-A มีปะการังมีชีวิตเพิ่มขึ้นในปี 46 ส่วนสถานี KK-C เพิ่มขึ้นเล็กน้อย การศึกษาองค์ประกอบของปะการังแยกตามรูปแบบปะการัง พบว่าปะการังแบบก้อนจะมีเปอร์เซ็นต์การครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 87.55+-3.83 ที่เกาะนกสถานี NOK-E รองลงมาคือ เกาะไผ่ สถานี PHA-E คิดเป็นร้อยละ 84.22+-14.25 เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลกับปี 2539 พบว่า เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมของปะการังแบบก้อนมีค่าน้อยลงทั้งสถานี KK-A และ KK-C องค์ประกอบปะการังแยกตามสกุล พบปะการังจำนวน 12 ชนิด โดยมีปะการัง Porites lutea เป็นกลุ่มเด่นในทุกสถานี สูงสุดในเกาะนก NOK-E คิดเป็นร้อยละ 87.55+-3.83 และต่ำสุดในเกาะนก NOK-W คิดเป็นร้อยละ 49.13+-12.58 เมื่อพิจารณาคุณภาพน้ำในทุกสถานี พบว่ามีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ และค่าความเป็นกรดด่าง ความโปร่งใส มีค่าใกล้เคียงกันทุกสถานี และช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
Other Abstract: Monitoring on structural change of coral communities was carried out at Chonburi Province by using the underwater photogrammetry in March 2003. Three study areas were consisted of Khang Khao island (KK-A and KK-C), Nok island (NOK-E and NOK-W) and Phai island (PHA-E and PHA-W). Results showed that Khang Khao island of KK-A station had the coverage of live coral and dead coral of 70.58+-22.46% and 2.05+-2.09%, respectively, and 68.53+-19.02% and 3.70+-2.87% for those of KK-C, respectively. All study area showed the high ratio of living and dead coral indicating high abundance of living coral in this study area. At this study, Khang Khao (KK-A) had higher living coral than those study in 1996 but the KK-C had gradually increase. Study on composition of coral forms found that the massive corals had the highest coverage at all study area; NOK-E 87.55+-3.83% and PHA-E 84.22+-14.25%. In comparison of this study and the previous study in 1996 found that the percentage coverage of massive coral decreased in both study area of KK-A and KK-C. There were 12 coral species and the massive coral Porites lutea was the dominant species in all study areas with the highest coverage in NOK-E(87.55+-3.83) and lower in NOK-W (49.13+-12.58). Seawater qualities, water temperature, pH, salinity and dissolved oxygen were similar at all study area and study period
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8699
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arnupap_mon.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.