Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8721
Title: การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดลำดับความสำคัญในชนิดของเภสัชภัณฑ์ที่ทำการวิจัยในประเทศไทย : รายงานวิจัย
Other Titles: The economic analysis of priority setting in research and development in pharmaceutical products in Thailand
Authors: ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ
พิรัส ประดิษฐวณิช
Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
Subjects: อุตสาหกรรมเภสัชกรรม -- ไทย
ยา -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของเภสัชภัณฑ์ต่อระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนวิเคราะห์สภาวการณ์ด้านการตลาด และด้านเศรษฐศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเภสัชภัณฑ์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 จนถึงปี พ.ศ.2545 และศึกษาถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางการเงินและเศรษฐกิจจากการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ โดยทำการศึกษาเฉพาะในผลิตภัณฑ์ยา ผลการศึกษาศักยภาพในการแข่งขันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยารักษาหรือป้องกันโรคของประเทศไทย พบว่า ประเทศไทย มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ต่ำ และยังพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรคของประเทศไทยเป็นภาคอุตสาหกรรม ประเภท Final primary production ซึ่งใช้ผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ มาเป็นปัจจัยการผลิตในระดับต่ำ ขณะที่ อุตสาหกรรมนี้มีอัตราการพึ่งพิงการบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับอัตราร้อยละ 48.52 (ค่าเฉลี่ย 34.96%) แต่กลับมีอัตราการ พึ่งพิงต่อการส่งออกเพียงร้อยละ 8.87 (ค่าเฉลี่ย 39.25%) แสดงว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกในผลิตภัณฑ์ยารักษา โรคอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดอุตสาหกรรมยาในระดับโลก เมื่อพิจารณาโครงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรคมีค่าดัชนีความ เชื่อมโยงแบบไปข้างหน้าสูงกว่าดัชนีความเชื่อมโยงแบบไปข้างหลัง และมีการใช้แรงงานภายในภาคอุตสาหกรรมอยู่ใน ระดับต่ำ แต่มีการนำเข้าปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่สูง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการรั่วไหลของมูลค่าเพิ่มไปยังต่างประเทศ สำหรับการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญในเภสัชภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทย เริ่มพิจารณาจากการประเมิน ความสูญเสียจากการเจ็บป่วยด้วยการประมาณค่าความสูญเสียเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือความบกพร่องทางสุขภาพ (Year Lived with Disability: YLD) และการวิเคราะห์ดัชนีความสูญเสียอันเนื่องจากการตายก่อนวัยอันสมควร (Year of Life Lost: YLL) พบว่า โรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย รวมทั้งมีมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากค่าภาระโรค หรือความรุนแรง ของโรคจากการลดประสิทธิภาพการทำงาน และภาครัฐควรจะดำเนินการทำวิจัยและพัฒนา รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการผลิต ยารักษาโรคได้เองภายในประเทศ ได้แก่ โรคเอดส์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคเบาหวาน โรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรควัณโรค และโรคติดเชื้อ ตามลำดับ โดยอาจเริ่มจากยากลุ่มที่มีการใช้แพร่หลายและหมดสิทธิบัตรคุ้มครอง (Non Patented Drug) แล้วหรือเป็นยาที่อยู่ ในบัญชียาหลัก (National List of Essential Drug) ที่สามารถรักษาโรคกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ในอนาคตอาจนำไปสู่การผลิต ตัวยาใหม่ (New Chemical Entity: NCE) อย่างแท้จริงโดยอาศัยรูปแบบ (Model) การพัฒนาอุตสาหกรรมยาจากประเทศที่ ประสบความสำเร็จ และจำเป็นต้องประสานความร่วมมือของหน่วยงานหลายฝ่ายตั้งแต่การผลิตบุคลากร ระบบฐานข้อมูล การวิจัยพัฒนาอันนำไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และการหาตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องมีการปรับเป้าหมายหรือทิศทางให้เป็นไปในแนวเดียวกัน (Pharmaceutical Industry Alignment) ใน การพัฒนาอุตสาหกรรมยา ทั้งนี้การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าวจะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ายารักษา โรคจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงทางสุขภาพให้กับประชาชนในประเทศ และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการ พัฒนาประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาค (Medical Hub)ได้ในอนาคต
Other Abstract: This study is to analyze the selection and prioritization of pharmaceutical products for research and development. It also analyzes the market conditions and other economic aspects regarding to the pharmaceutical products in Thailand from 1996 to 2002. And finally, the study leads to the analysis of the financial and economic impacts, both direct and indirect, of research and development in pharmaceutical products in Thailand. The result of this study shows that the competitive potential in pharmaceutical products of Thailand is comparatively low. The pharmaceutical industry in Thailand is only a final primary production. Meaning that, it employs the final products from other industries to be its input in a low level. While its private consumption is at 48.52% vs. the average of 34.96%, this industrial export level at 8.87% vs. the average of 39.25%. According to that, Thailand has low export proportion of pharmaceutical products comparative to the world pharmaceutical industry. When considering the structure of inter-industrial repercussion, pharmaceutical industry has higher the forward inter-industrial repercussion index than the backward inter-industrial repercussion index. It employs low labor force, while makes use of considerable proportion of import input. This is a manifest of the drain of value added to the foreign countries. To analyse the prioritization of pharmaceutical products, the study estimates the loss from illness using the Year Lived with Disability (YLD) and the Year of Life Lost (YLL). It reveals that among the top worst health impact diseases, according to the YLD and YLL, are AIDS, Stroke, Liver Cancer, Lung Cancer, Diabetes, Chronic Obstructive Pulmonary Diseases, Coronary Artery Diseases, Tuberculosis, and Infectious Diseases respectively. Government should focus on supporting or initiating any measures to promote the research and development for the pharmaceutical products related to such incapacitating and killing diseases. The research and development could start from producing a Non Patented Drug or drugs in the National List of Essential Drug, relevant to such diseases. This may lead to the development of New Chemical Entity (NCE) in the long run. The successful model of development from other countries may be useful lessons to learn from. The alignment toward the development of pharmaceutical industry among related government agencies and non government organizations is a key to success. The successful development on pharmaceutical industry will help decrease import amount of needed medicines, promote the self dependency and security of the national health in Thailand. It is also one of essential elements of the development of medical hub in the region for Thailand in the long run.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8721
Type: Technical Report
Appears in Collections:Econ - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siripen.pdf25.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.