Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/880
Title: | การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย |
Other Titles: | Thailand's transformation of journalistic ideology |
Authors: | นวลวรรณ ดาระสวัสดิ์, 2510- |
Advisors: | วิลาสินี พิพิธกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | วารสารศาสตร์ -- ไทย อุดมการณ์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์วารสารศาสตร์ของไทย ผ่านการให้คำนิยามของนักวารสารศาสตร์ไทย นับจากอดีต-ปัจจุบัน ผลวิจัยพบว่า นักวารสารศาสตร์ไทยมีการรับอุดมการณ์จากตะวันตก และปรับเปลี่ยนอุดมการณ์จากตะวันตก ในแต่ละประเด็นไปพร้อมกัน โดยมีการรักษาเนื้อหาหลักของอุดมการณ์ ขณะที่ปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย และการรักษาอำนาจของกลุ่มปัญญาชน สำหรับอุดมการณ์ที่ถูกนำมาอ้างถึงในวาทกรรมมากที่สุด จากอดีตถึงปัจจุบัน คือ เสรีภาพหนังสือพิมพ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีอุดมการณ์อื่น คือ ความถูกต้อง, ความจริง, ความเป็นกลาง, ความยุติธรรม และวิชาชีพนิยม มาเป็นกรอบในการทำงาน รวมทั้ง มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาอุดมการณ์ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในแต่ละช่วงเวลา พบความแตกต่างดังนี้ 1. ยุคการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์จากตะวันตก โดยอ้างวาทกรรม "ชาตินิยม" แบ่งการตีความหมายเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มราชสำนักหัวอนุรักษ์ ที่ว่า การแสดงความเห็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง-ความถูกต้อง เพื่อประโยชน์บำรุงชาติ และ กลุ่มสามัญชนหัวก้าวหน้า ที่ว่า การแสดงความเห็นได้โดยไม่มีอำนาจมาคุกคาม เพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้ชาติมีความเจริญ และ พ้นจากการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยม 2. ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475) มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ จากการอ้างวาทกรรม "ชาตินิยม" มาเป็นการอ้างวาทกรรม "การควบคุมกันเอง" แบ่งการตีความหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มราชสำนักหัวผสมผสาน ที่ว่า การแสดงความเห็นต้องมีขอบเขตของความรับผิดชอบ เพื่อจะได้ไม่ถูกควบคุมเสรีภาพ และ กลุ่มสามัญชนหัวก้าวหน้า ที่ว่า การแสดงความเห็นได้โดยไม่มีอำนาจมาคุกคาม เนื่องจากทำไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังเกิดการเชื่อมโยงแนวคิดภายในกลุ่ม คือ อุดมการณ์ "วิชาชีพนิยม" ภายใต้วาทกรรม "สมบัติผู้ดี" 3. ร่วมสมัย มีการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ จากการอ้างวาทกรรม"การควบคุมกันเอง" มาเป็นการอ้างวาทกรรม "ความน่าเชื่อถือ" แบ่งการตีความหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการวารสารศาสตร์ ที่เน้นการใช้เสรีภาพอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง-ความจริง และ กลุ่มนักวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่ว่า การทำงานต้องอยู่บนหลักการความจริง ไม่มีอคติ เพื่อให้เสรีภาพเกิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยมีการเชื่อมโยงแนวคิดในกลุ่ม คือ การถ่ายทอดความรู้ในลักษณะจากครูสู่ลูกศิษย์ |
Other Abstract: | The objective of this research, which employed qualitative approach, was to analyze the transformation of Thai journalistic ideology by studying the definition on journalistic ideology given by the prominent journalists and academicians from past to present. The study revealed that the journalists were both influenced by western ideologies and adapted each point of them at the same time. By this adaptation, they reserved the core content of these ideologies and adapted the detail of the subordinate idea to Thai social context in order to maintain the hegemonic intellectual group's power in Thai society. Freedom of the press and social responsibility were the main ideologies that were referred in their discourse from the past to present. The other ideologies such as accuracy, truth, fairness and professionalism were the subordinated ideologies that Thai journalists used as their framework. They also adapted the content of these ideologies to Thai social context during 3 different periods as below: 1. Absolute Monarchy Period: the journalists adapted the western ideologies by referring to the "Nationalism Discourse". The meaning of this discourse was interpreted by 2 groups ;the conservative courtiers and the progressiveness. The conservative courtiers interpreted that the freedom of the press was based on the truth and accuracy for the sake of the nation's benefit. On the contrary, the latter group believed that the freedom of the press could be expressed without any threat of power group. They could use it as a tool in demanding of the political revolution for the nation's prosperity and escaping from Imperialism. 2. Post-Democratic Revolution Period (1932): the journalists changed their reference from Nationalism to Self-Control Discourse. The meaning of this discourse was interpreted by 2 groups; the new-blood courtiers and the progressiveness. The first group interpreted that the freedom of the press should based on their limit of responsibility so that they would not be controlled of their freedom. The second group believed that their freedom of expression is unlimited and would not be controlled by any power group because it provided benefit to the country and Thai people as a whole. Moreover, it also created the linkage of the Nationalism ideology among their groups under the Noble Practice Discourse. 3. Contemporary period: the journalists changed their reference from the "Self-control Discourse" to "Credibility Discourse". The meaning of this discourse was interpreted by 2 groups; the journalistic academicians and prominent journalists. The academicians emphasized on the use of freedom under the frame of accuracy and truth while the journalists emphasized on their work based on the truth, non-prejudice. The freedom will be applied for the sake of Thai people. They also created the linkage among their groups by passing on their knowledge to their followers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/880 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.451 |
ISBN: | 9741703392 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.451 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuanvan.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.