Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8899
Title: | การศึกษาทัศนะของครูศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษในวิชาศิลปศึกษา |
Other Titles: | A study art teachers and experts' viewpoints toward mainstream classes management for exceptional children in art education subject |
Authors: | สารินี เกษมสันต์ ณ อยุธยา |
Advisors: | สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ครูศิลปศึกษา การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของครูศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิเศษในวิชาศิลปศึกษาในด้าน 1. ครูผู้สอน 2. ผู้เรียน 3. เนื้อหาหลักสูตร 4. วิธีการสอน 5. สภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างประชากรครูศิลปะในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร 69 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาพิเศษ ทางศิลปศึกษา และทางศิลปศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาคาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยได้พบว่า ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากในทุกๆด้านดังนี้คือ 1. ด้านครู ผู้สอนครูศิลปะควรได้รับสวัสดิการและความสะดวกต่างๆ 2 . ด้านผู้เรียน ควรจัดมุมประสบการณ์ศิลปะเพิ่มสำหรับเด็กพิเศษ, 3. ด้านเนื้อหาหลักสูตร ควรเรียงเนื้อหาในวิชาศิลปะจากเรื่องใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว เรื่องง่ายไปสู่ เรื่องยาก, 4. ด้านวิธีการสอนวิธีการสอนควรเก็บข้อมูลศึกษาเฉพาะกรณีในกลุ่มเด็กพิเศษ สื่อการเรียนการสอนควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย การวัดและประเมินผล ควรมีการวัด และประเมินผลพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง, 5. ด้านสภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม ควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาดไว้ในห้องเรียนศิลปะ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นดังนี้คือ 1. ด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนศิลปศึกษาสำหรับเด็กพิเศษในชั้นเรียนร่วม ควรมีวุฒิทางศิลปศึกษา หรือวุฒิทางการศึกษาพิเศษ, 2. ด้านผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนในวิชาศิลปศึกษาควรให้เด็กพิเศษมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรมศิลปะ, 3. ด้านเนื้อหาหลักสูตรรายวิชาศิลปะ ควรมีความสนใจ ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน จากง่ายไปยากในด้านทักษะ, 4. ด้านวิธีการสอน ควรเก็บข้อมูลศึกษาเฉพาะกรณีในกลุ่มเด็กพิเศษ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายในวิชาศิลปะ การวัดและประเมินผลเพียงรูปแบบเดียว ไม่สามารถจะยืนยันความสามารถของเด็กได้, 5. ด้านสภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมห้องเรียนศิลปะควรจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมเพิ่มเติม ข้อเสนอแนะมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1 ผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนร่วมในวิชาศิลปศึกษาควรค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ 2 ผู้เรียนควรมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนร่วมควรปรับความพร้อมในทุกด้าน 3. หลักสูตรควรมีการจัดทำหลักสูตรสำหรับเด็กพิเศษที่เรียนร่วม 4 วิธีการสอนควรจัดการเรียนการสอนร่วมโดยใช้สื่อที่สามารถใช้ได้ร่วมกันในเด็กปกติ และเด็กพิเศษ แต่ไม่ควรใช้เกณฑ์ในการวัดผลแบบเดียวกัน 5.สภาพทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อม ควรจัดห้องบำบัดพิเศษเพิ่ม เพราะจะสามารถพัฒนาความรู้ และทักษะความสามารถของเด็กพิเศษ และยังเป็นศูนย์รวมข้อมูลของเด็กพิเศษ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the viewpoints of art teachers and experts toward mainstream classes management for exceptional children in art education subject in aspect of teacher, students, curriculum, teaching method, and physical atmosphere and environment. The research sampling group were 69 art teachers under the jurisdiction of the Bangkok Education Service Area Office, 15 experts in area of special education, art education, and art education for exceptional children. The research instruments were questionnaire and interview form. The data were analysis by means of arithmetic mean, standard deviation, percentage, and content analysis, The research findings were found that most art teachers agreed at the high level in all aspects which were the followings, 1 In aspect of teachers, art teachers in mainstream classes should get welfare and comfortableness, 2 In aspect of students, the art experienced comers should be provided for exceptional students, 3 In aspect of curriculum, the curriculum should be ordered the content of art subject from near matter to far matter as well as from easy matter to difficult matter, 4 In aspect of teaching method, it should be collected data of exceptional children by using case study technique, the instructional media should be variety, the measurement and evaluation should be assessed the development of student continuously, 5 In aspects of physical atmosphere and environment, the cleaning equipment should be prepared in art classroom The viewpoints of the experts were as following, 1 In aspect of teachers, the teachers in mainstream classes should graduate in art education or special education, 2 In aspect of students, the management of art education instruction, the teachers should let students participate in every steps of art activities, 3 In aspect of art curriculum, the content shoulod be interesting and ordered from easy matter to difficult matter, 4 In aspect of teaching method, it should be collected data particularly of exceptional children by a case study, the various instructional media should be used in art subject, one assessments as well as evaluation method could not confirm students ability, 5 In aspect of physical atmosphere and environment, adding more comfortable accessories in art classroom was necessary. The important issues from the suggestions were, 1 the teachers and personal who involved in mainstream class management in art education course should search new knowledge for application, 2 students should e ready to adjust themselves in mainstream class, 3 the curriculum should design for mainstream exceptional children, 4 the teaching method, the mainstream class should be managed by using instructional media for both student groups, the evaluation criteria should not be the same for both student groups, 5 the physical atmosphere and environment, the therapy class should be provided for developing knowledge and ability skill of students, as well as its's as an exceptional children data center. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8899 |
ISBN: | 9745327808 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sarinee.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.