Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9175
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในสาวประเภทสองของศูนย์ซิสเตอร์ เมืองพัทยา |
Other Titles: | Communication strategy for AIDs prevention in Sisters Counseling Center's transgender in Pattaya |
Authors: | กันทกา กิตติภราดร |
Advisors: | อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสื่อสารสาธารณสุข โรคเอดส์ -- การป้องกัน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ของศูนย์ซิสเตอร์ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เรื่องโรคเอดส์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของสมาชิกในศูนย์ซิสเตอร์ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของสมาชิกศูนย์ซิสเตอร์โดยใช้วีการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ศูนย์ซิสเตอร์ 5 คน และสมาชิกศูนย์ซิสเตอร์ 10 คน และใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจสมาชิกศูนย์ซิสเตอร์ 177 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามชนิดกรอกเอง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กลยุทธ์การสื่อสารที่นำมาใช้ในการป้องกันโรคเอดส์ของศูนย์ซิสเตอร์ คือ การใช้สื่อบุคคล ได้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ซิสเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีม คือเจ้าหน้าที่ภาคสนาม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการภายในศูนย์ และการใช้สื่อเฉพาะกิจ 2. เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ที่มีความคล้ายคลึงกับสมาชิก เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นกันเอง และมีความรู้ ความสามารถ และใช้การสื่อสารระหว่างบุคคล คือ การให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับสมาชิก โดยมีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทางและการสื่อสารแบบกลุ่มในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3. สื่อเฉพาะกิจที่ทางศูนย์นำมาใช้ คือ แผ่นพับและโบรชัวร์ที่มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการพกพา และมีเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีของที่ระลึกติดไว้กับสื่อเพื่อพึงดูดให้สมาชิกสนใจอ่านสื่อและใช้การสาธิตการใช้เจลหล่อลื่นและถุงยางอนามัยเพื่อแสดงให้สมาชิกเห็นและได้ลองปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี 4. สื่อกิจกรรมที่ทางศูนย์นำมาใช้เพื่อดึงดูดให้สมาชิกเข้ามาที่ศูนย์ คือ ชมรมทำอาหาร ชมรมวอลเล่ย์บอลและชมรมเสริมสวย เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะสามารถให้ความรู้กับสมาชิกได้ 5. ไม่พบว่าระดับความรู้เรื่องโรคเอดส์ของสมาชิกศูนย์ชิสเตอร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ 6. ปัจจัยด้านอายุ ด้านคู่นอน ด้านครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านความบ่อยครั้งที่เข้าศูนย์ ด้านความสะดวกในการหาซื้ออุปกรณ์ป้องกัน และด้านความรู้มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของสมาชิก |
Other Abstract: | The purpose of this study are (1) to study communication strategy for AIDS prevention of Sisters Counseling Center (2) to explore the relationship between the level of AIDS knowledge and AIDS prevention behavior among Sister’s members (3) to uncover the factors affecting AIDS prevention behavior among Sister’s members. In-depth interview and survey were employed to collect data. Five Center’s staffs and 10 Center’s members were interviewed by questionnaire. The finding are as follow:- 1. Communication Strategy for AIDS prevention of the Center is Human Media. Staffs of the Center are the key informants to provide knowledge to the members. There are 2 groups of them which are Drop-in Center staffs and Outreach staffs. Specialized Media is used as well. 2. The staffs are similar to the members, credible, trained and skilled of AIDS prevention knowledge. Interpersonal communication as interpersonal counseling is used to provide knowledge to members. Two-way communication and group communication are used to provide knowledge as well. 3. Small poster and brochure as specialized media are used by the Center. These media are convenient to bring along with the members. The media’s message is easy to understand and also has attached souvenir to persuade the member’s attention to open the media. Demonstration is used to show the members how to treat themselves for AIDS prevention correctly. 4. Activity media as Volleyball Club, Cooking Club, and Make-up Club are used to persuade the members to join the Center so that the staffs can provide them the knowledge. 5. It is not found that the level of AIDS knowledge related to AIDS prevention behavior. 6. Factors affecting AIDS preventive behavior of Sister’s members are age, relationships among family, friend, number of attendance to the Center, convenience to buy preventive items, and knowledge of AIDS prevention. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9175 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1455 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1455 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kantaka.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.