Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9180
Title: การประยุกต์ใช้ของเสียจากการผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน สำหรับผลิตภัณฑ์หมอนคอนกรีตรองกระเบื้อง
Other Titles: Application of sludge waste from asbestos-cement rooftile process for a concrete cushion product
Authors: ณัฐเศรษฐ์ สมแสน
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: แอสเบสตอส
หมอนคอนกรีตรองกระเบื้อง
คอนกรีต
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากของเสียจากการผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหิน (Sludge Waste) เป็นของเสียที่มีแอสเบสตอลปะปนอยู่ จำเป็นต้องกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โรงงานผลิตกระเบื้องซีเมนต์ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะนิยมใช้วิธีการฝังกลบ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของหมอนคอนกรีตรองกระเบื้องที่มี Sludge Waste เป็นองค์ประกอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงเทคนิค และเศรษฐศาสตร์ในการนำ Sludge Waste ไปใช้ในการผลิตหมอนคอนกรีตรองกระเบื้อง สำหรับขั้นตอนวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย การขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างทดสอบส่วนผสมคอนกรีต โดยการใช้ Sludge Waste ทดแทนซีเมนต์ ทราย หินเกล็ด และเพิ่มในส่วนผสมคอนกรีตปกติ ในช่วง 10%-50%, 15%-100%, 15%-100% และ 10%-50% โดยน้ำหนัก ตามลำดับใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ในการผลิตเท่ากับ 0.4, 0.5 และ 0.6 และใช้ระยะเวลาการบ่มส่วนผสมคอนกรีต 3, 7, 14 และ 28 วัน การทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงานตัวอย่างทดสอบ ได้แก่ กำลังอัด กำลังดัด ความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำ การคัดเลือกส่วนผสมและกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมในการผลิตสามารถใช้ Sludge Waste และลดต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียได้สูงสุด จากนั้นจึงได้นำส่วนผสมที่ได้ไปทดลองผลิตเป็นหมอนคอนกรีตรองกระเบื้อง และทดลองใช้งานจริงเทียบกับหมอนคอนกรีตปกติที่ไม่ใช้ Sludge Waste ผลการทดลองพบว่า ส่วนผสมที่เหมาะสมต่อการผลิตหมอนคอนกรีตรองกระเบื้อง คือ ซีเมนต์ : ทราย : หินเกล็ด : Sludge Waste เท่ากับ 0.8 : 1 : 2 : 0.2 ใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.4 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาการบ่ม 7 วัน ทำให้ได้หมอนคอนกรีตรองกระเบื้องที่สามารถใช้งานในการรองรับแสงอัด 48.15 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร แรงดัด 22.02 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่น 1.74 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และการดูดซึมน้ำ 17.63% และสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบหมอนคอนกรีตรองกระเบื้องที่ใช้อยู่ในปัจจุบันลงจาก 2.12 บาทต่อก้อน เหลือ 1.80 บาทต่อก้อน หรือลดลง 0.32 บาทต่อเดือน หากนำส่วนผสมที่คัดเลือกจากการวิจัยนี้ไปใช้ผลิตเป็นหมอนคอนกรีตรองกระเบื้องจำนวน 2 ล้านก้อนต่อปี จะทำให้ลดปริมาณ Sludge Waste ที่ต้องนำไปฝังกลบได้ 400 ตันต่อปี และลดค่ากำจัดของเสียได้ 200,000 บาทต่อปี
Other Abstract: Because of the sludge waste from asbestos-cement process mixed with asbestos fiber. Almost factory of asbestos-cement roof tile products eliminated this waste by landfill, but it created cost and impacted to environment. Therefore sludge waste was considered on its application in concrete cushion product. The objectives were to study the technical and economical feasibility in the sludge waste recycle to concrete cushion production. The study composed of concrete specimens preparing of application concrete mixes with sludge waste by replaced cement, sand, stone, and added in the normal concrete mix between 10%-50%, 15%-100%, 15%-100% and 10%-50% by weight, respectively. These specimens used water cement ratio at 0.4, 0.5 and 0.6 by weight and curing time for 3, 7, 14 and 28 days. The mechanical properties testing of these specimens had been conducted in this research; compressive strength, bending strength, density and water absorption. The optimal condition considered from the maximum of the quantity of sludge waste and the reduction of raw materials cost and waste eliminated cost was studied. The experimental result showed that the suitable raw materials ratio of cement : sand : stone : sludge waste was 0.8 : 1 : 2 : 0.2 respectively. Water cement ratio of 0.4 and curing time of 7 days were the optimal condition for concrete cushion production. This optimal condition produced concrete cushion which the mechanical properties were compressive strength of 48.15 kg/cm2, bending strength of 22.02 kg/cm2, density of 1.74 g/cm3 and water absorption of 17.63%. This composition could reduce the raw materials cost from 2.12 baht/piece into 1.80 baht/piece. Therefore, If 2 million pieces/year of concrete cushion are produced using this condition, the quantity of sludge waste would be recycled up to 400 tons/year and the cost of eliminated waste would be reduced by 200,000 baht/year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9180
ISBN: 9746395157
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthaset_SO_front.pdf637.99 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch1.pdf500.51 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch2.pdf669.27 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch3.pdf631.8 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch4.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch5.pdf589.53 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_ch6.pdf262.66 kBAdobe PDFView/Open
Natthaset_SO_back.pdf449.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.