Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9212
Title: | การตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แบบฟัซซีโดยใช้อัตราการเคลื่อนที่ของสถานีเคลื่อนที่ระยะทางจากสถานีฐานและความแรงสัญญาณที่รับได้ |
Other Titles: | Fuzzy handover decision using moving rate of mobile station, distance from base station and received signal strength |
Authors: | วราทร เลิศวงศ์วีรชัย |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โทรศัพท์เคลื่อนที่ แฮนด์โอเวอร์ ฟัสซีลอจิก |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนออัลกอริทึมการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แบบฟัซซีที่มีประสิทธิภาพ (โดยเพิ่มอัตราการเคลื่อนที่ของสถานีเคลื่อนที่เป็นพารามิเตอร์ร่วมกับความแรงสัญญาณที่รับได้) เพื่อที่จะลดจำนวนการแฮนด์โอเวอร์ที่ไม่จำเป็นให้น้อยลง ในขณะที่จำนวนการเรียกที่จะดร็อปยังอยู่ในค่าที่ยอมรับได้ สำหรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่การลดจำนวนแฮนด์โอเวอร์ทำให้สมรรถนะของระบบโดยรวมดีขึ้นด้วย วิธีที่นำเสนอจะนำไปเปรียบเทียบกับ อัลกอริทึมที่ใช้กันอยู่ (Conventional algorithm) และอัลกอริทึมการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แบบฟัซซีที่ใช้ความแรงสัญญาณที่รับได้กับระยะทางจากสถานีฐาน ในการจำลองแบบในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อ้างอิงระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบดิจิตอลจีเอสเอ็ม วิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเปลี่ยนเฉพาะซอฟต์แวร์ควบคุมการแฮนด์โอเวอร์ที่ตัวควบคุมสถานีฐานเท่านั้น ผลการจำลองแบบแสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอที่ดีที่สุดคือ F-HYS ที่มี Inference ในรูปแบบที่ 1 โดยเหมาะสมกับเซลล์ที่มีอัตราส่วนการซ้อนทับ 0.8-1.0 (อัตราส่วนการซ้อนทับคืออัตราส่วนระหว่างรัศมีเซลล์กับระยะห่างระหว่างสถานีฐาน) โดยเมื่อพิจารณาสถานีเคลื่อนที่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจากสถานีฐานที่ให้บริการไปยังสถานีฐานข้างเคียง จำนวนแฮนด์โอเวอร์ลดลงในช่วงดังกล่าวถึง 34-40 เปอร์เซ็นต์จากอัลกอริทึมที่ใช้กันอยู่ และ 0-42 เปอร์เซ็นต์จากอัลกอริทึมการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แบบฟัซซีที่ใช้ความแรงสัญญาณที่รับได้กับระยะทางจากสถานีฐาน สำหรับระบบที่การเรียกมีการดร็อปเมื่อความแรงสัญญาณต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ยอมรับได้ |
Other Abstract: | This thesis proposes an efficient fuzzy handover decision algorithm (by including the moving rate of mobile telephone as decision parameter to the Received Signal Strength (RSS)) which can reduce the handover number as well as restrain the dropped call number within the accepted level. This also improves the overall system performance. The proposed method is compared with Conventional algorithm and fuzzy handover decision algorithm using RSS and distance from Base Tranceiver Station (BTS). The simulation model is based on GSM digital mobile telephone system. This method can be utilized by only changing handover control software in Base Station Controller (BSC). The simulation result shows that F-HYS, which uses inference type 1 is the best method. It is suitable for cell that has overlap ratio about 0.8-1.0 (overlap ratio between cell radius and distance between serving BTS and neighbor BTS). For drop system call is dropped when its RSS is lower than accepable threshold, it is found that handover number decreases 34-40% from that of conventional algorithm and 0-42% from that of fuzzy handover decision algorithm using RSS and distance from BTS, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9213 |
ISBN: | 9743320245 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waratorn_Le_front.pdf | 719.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_ch1.pdf | 260.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_ch2.pdf | 607.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_ch3.pdf | 596.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_ch4.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_ch5.pdf | 390.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Waratorn_Le_back.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.