Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9560
Title: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู
Other Titles: Community participation in tourism resource conservation : a case study of Banglumpoo Community
Authors: วิมลสิริ เหมทานนท์
Advisors: สุภาวดี มิตรสมหวัง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
บางลำพู (กรุงเทพฯ)
การท่องเที่ยว -- ไทย -- นโยบายของรัฐ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ชุมชน -- การอนุรักษ์
Issue Date: 2546
Publisher: จูฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนย่านบางลำพู รวมทั้งปัจจัย ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 30 ราย โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ที่รู้ข้อมูลท้องถิ่น การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการศึกษาจากรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้นโยบายด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร, การรับรู้เรื่องกระแสโลกในนโยบายด้านการมีส่วนร่วม, ความต้องการรักษาวิถีชีวิตเดิม, ความต้องการรักษาโบราณสถานและระดับการรักษาผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีการรับรู้นโยบายด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในระดับที่สูง, มีการรับรู้เรื่องกระแสโลกในนโยบายด้านการมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง, มีความต้องการรักษาวิถีชีวิตเดิมในระดับที่สูง, มีความต้องการรักษาโบราณสถานในระดับที่สูง และมีระดับการรักษาผลประโยชน์ที่สูง จะมีส่วนร่วมมากในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนบางลำพู การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่บางลำพูที่ผู้วิจัยทำการศึกษามี 4 ขั้นตอน คือ การคิดแก้ไขปัญหา, การวางแผนและโครงการ, การปฏิบัติงานและการติดตามผลงาน บำรุงรักษาและร่วมรับผิดชอบ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือ การคิดแก้ไขปัญหา, การวางแผนและโครงการ และการติดตามผลงาน บำรุงรักษาและร่วมรับผิดชอบ ตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นของประชาชนมีมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและการร่วมวางแผนโครงการ การติดตามผลงาน และร่วมแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น
Other Abstract: This study intents to identify factors affecting tourism resource conservation and problems of the cultural tourism resource conservation in Banglumpoo Community, Bangkok. Data were gathered by using in-depth interviews of 30 key-informants, participative observation and document analysis. The study results reveal that Banglumpoo Community members' participation in tourism resource conservation is positively related to their knowledge about tourism policy, their intention to conserve local traditional lifestyles and ancient remains, and their consciousness in protecting community interests. The more they know about tourism policy, intend to conserve local traditional lifestyles and ancient remains, and are conscious in protecting community interests, the more they participate in tourism resource conservation activities. The research also discloses that by divided participation in tourism conservation into 4 stages : problem solving, planning, implementing and evaluating, Banglumpoo Community members participate in the implementation stage of tourism conservation the most and participate in the other stage in a smaller scale. Therefore, in promoting the participation in tourism resource conservation of local people, it is recommended to encourage local people to participate more in all stages of tourism resource conservation activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จูฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9560
ISBN: 9741734735
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonsiri.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.