Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9575
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ | - |
dc.contributor.author | วรรณี อรุณรัศมีโชติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-04T04:10:57Z | - |
dc.date.available | 2009-08-04T04:10:57Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745621587 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9575 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แต่เดิมผลิตภัณฑ์สิ่งทอต้องสั่งเข้าประเทศ แต่ปัจจุบันต้องส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ลักษณะการลงทุนมีทั้งบริษัทที่เป็นของคนไทย และบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน ฉะนั้นการจัดการของทั้งสองบริษัทอาจแตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เขียนทำการศึกษาเรื่องนี้ การศึกษาบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอของคนไทย พบว่า ทุกบริษัทบริหารงานโดยคนไทยและส่วนใหญ่ของบริษัทดังกล่าวเป็นกิจการขนาดปานกลาง จัดตามทุนจดทะเบียน ทรัพย์ดินและยอดขาย พ.ศ. 2524 ขณะเดียวกันส่วนใหญ่ของบริษัทอุตสาหกรรมที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนบริหารงานโดยคนไทย และเป็นกิจการขนาดใหญ่จัดตามทุนจดทะเบียน ทรัพย์สินและยอดขาย พ.ศ. 2524 การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยระหว่างบริษัทที่เป็นของคนไทยกับบริษํทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน พบว่า 1. การวางแผน ส่วนใหญ่ของบริษัทที่เป็นของคนไทย และบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์บริษัท คณะกรรมการกลางวางแผนทำหน้าที่วางแผน หน้าที่งานด้านการผลิต ด้านการเงิน ด้านบุคคล และด้านการตลาด และรูปแบบการวางแผนเป็นแบบปรับปรุงแก้ไข 2. การจัดสายงาน บริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนมีชั้นสายการบังคับบัญชามากกว่าของบริษัทที่เป็นของคนไทย ส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทมีโครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริษัทของคนไทยมีการจัดสายงานแบบรวมอำนาจ ขณะเดียวกันบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนมีการจัดสายงานแบบกระจายอำนาจ 3. การปฏิบัติขั้นดำเนินการ ส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทสั่งงานเป็นลายลักษณ์อักษรบริษัทที่เป็นของคนไทยมีการสร้างขวัญพนักงาน การจูงใจ การประสานงาน และการติดต่อสื่อสารที่ดีน้อยกว่าของบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน 4. การควบคุมงาน ส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทมีผู้บังคับบัญชาโดยตรง ทำหน้าที่ประเมินผลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา บริษัทที่เป็นของคนไทยใช้เทคนิคการควบคุมงานมากลักษณะกว่าบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การจัดการของบริษัทที่เป็นของคนไทยและบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน อาจเกิดปัญหาภายใน ในด้านรูปแบบโครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการ ขวัญ การจูงใจ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร และเทคนิคใหม่ ๆ และปัญหาภายนอกบริษัท คือ ปัญหาด้านรัฐบาล และปัญหาด้านอุปนิสัยของแรงงาน จากปัญหาข้างต้นพอที่จะสรุปข้อเสนอแนะดังนี้คือ 1. บริษัททั้งสองควรศึกษาวิเคราะห์การจัดการทุก ๆ หน้าที่ เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไข ข้อเสนอแนะ ได้ทำการศึกษาในบทที่ 7 ไว้โดยละเอียด 2. รัฐบาลควรสร้างภาพพจน์ที่ดีและน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุน ควรให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังแก่ธุรกิจสิ่งทอ และควรกำหนดจำนวนพนักงานที่เป็นคนไทย ที่แน่นอนในแต่ละบริษัท 3. พนักงานควรปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเป็นอย่างถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของพนักงานเอง ของบริษัทและของประเทศชาติ | en |
dc.description.abstractalternative | The biggest industry in Thailand nowadays is said to be textile. In the old time, the textile products were imported but now are exported instead. As a matter of fact, this brings a lot of revenue into the country. There are both Thai wholly owned and partly owned companies which may cause different management. This idea motivated the author to conduct this unprecedented study. The study of Thai wholly owned textile companies reveals that all of them are managed by Thai and most of them are the medium sized business basing on the capital size, asset and total sales in 1981. On the other hand, most of the Thai partly owned companies are managed by Thai and are the large sized business basing on the same principle. The comparative study of management in textile industries in Thailand between Thai wholly owned and partly owned companies shows the following: 1. Planning. Most of the Thai wholly owned and partly owned companies have the board of directors to set the companies' objectives, the central coporate planning group to carry out the planning basis of production, finance, personnel and marketing functions. The adaptivizing pattern is the planning type being used for its planning process. 2. Organizing. The Thai partly owned companies have more chain of command's level than the Thai wholly owned companies. Most organization of command's level than the Thai wholly owned companies. Most organization structure of both companies are the committee organization. The organizing of the Thai wholly owned companies were centralized as while the Thai partly owned companies are decentralized. 3. Directing. Most of them direct their subordinates by writtern form. The Thai wholly owned companies have less morales boost, motivation, coordination and good communication than the Thai partly owned companies. 4. Controlling. Most of them have supervisors to evaluate their direct subordinates' jobs. Thai wholly owned companies apply more the controlling techniques than the Thai partly owned companies. The results of this study also show that these companies, management system causes the intramural problems of committee structure, morale, motivation, coordination, communication, and technology. The extramural problems are government and labour concern. From the problems mentioned and the study carried out, it was suggested that 1. Both types of companies should analy their management of all functions for setting up the solutions of management problems. 2. The government should create the favorable climate for the investors and set the definite quota of Thai management staff in each company. 3. The labour themselves should try their best for mutual benefits among them, the company and the country. | en |
dc.format.extent | 15883929 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- ไทย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- การบริหาร | en |
dc.subject | การจัดการ | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย ระหว่าง บริษัทที่เป็นของคนไทยกับบริษัทที่มีคนต่างชาติเข้าร่วมลงทุน | en |
dc.title.alternative | A comparative study on management in textile industry between the whoelly owned and partly owned commpanies | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wannee.pdf | 15.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.