Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9591
Title: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทย
Other Titles: A development of the causal relationship model of seniority value in Thai government officials
Authors: พเยาว์ ฤทธิแพทย์
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ลิสเรลโมเดล
ข้าราชการ
ค่านิยม
ระบบอาวุโส
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,212 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistage random sampling) ได้แบบสอบถามกลับคืนคิดเป็นร้อยละ 61 วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างด้วยการหาค่าสถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ t-test และ one-way ANOVA วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.10 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของค่านิยมความมีอาวุโสได้ร้อยละ 67 ผลการตรวจความตรงของโมเดล มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 19.85 ที่องศาอิสระเท่ากับ 13 ; p = 0.099 ; ค่า GFI = 1.00 ; ค่า AGFI = 0.98 ค่า RMR = 0.0097 โดยตัวแปรที่มีค่าอิทธิพลรวมส่งผลต่อค่านิยมความมีอาวุโสสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ คือ ระดับการศึกษา รองลงมาได้แก่ อายุ ระดับ (ซี) และการมีบิดารับราชการ ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to develop and validate the causal relationship model of seniority value of Thai government officials. The sample consisted of 1,212 officials from the Ministry of Defence, the Ministry of Agriculture and Cooperative, the Ministry of Interior, the Ministry of Education and the Ministry of Public Health, was selected by multistage random sampling. Data were analyzed by descriptive statistics, t-test and one-way ANOVA. The LISREL version 8.10 was applied to test the model consistency with empirical data. The results indicated that the model could explain the variance of seniority value about 67 percent. Model validation of the best fitted provide chi-square test goodness of fit of 19.85, df = 13, p = 0.099, GFI = 1.00, AGFI = 0.98 and RMR = 0.0097. Variables have highest total effected on seniority values were education followed by age, position classification and father career.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9591
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.404
ISBN: 9743332324
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.404
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Payao_RI_front.pdf795.57 kBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_ch1.pdf796.99 kBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_ch2.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_ch3.pdf803.9 kBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_ch4.pdf940.14 kBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_ch5.pdf815.34 kBAdobe PDFView/Open
Payao_RI_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.