Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9678
Title: | กลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์สองประเภท |
Other Titles: | Questioning strategies in two types of television interview |
Authors: | ประไพพรรณ พึ่งฉิม |
Advisors: | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ สื่อมวลชน การสื่อทางภาษา รายการทไวไลท์โชว์ รายการไอทีวีทอล์ค วจนะวิเคราะห์ การสัมภาษณ์ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีการถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์สองประเภท ได้แก่ การสัมภาษณ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้ให้สัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์เพื่อหาข้อเท็จจริง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากบทสัมภาษณ์ในช่วงทอล์คโชว์ของรายการทไวไลท์โชว์ และบทสัมภาษณ์จากรายการไอทีวีทอล์ค รายการละ 10 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้สัมภาษณ์ใช้กลวิธีหลายอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในปริจเฉทการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ จากการศึกษาเรื่องรูปประโยคที่ใช้ถามในปริจเฉทการสัมภาษณ์สองประเภทพบว่า ผู้สัมภาษณ์ใช้รูปประโยค 2 ชนิด ได้แก่ ประโยคคำถาม และประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ ส่วนกลวิธีการถามที่ใช้ในปริจเฉทการสัมภาษณ์มี 8 กลวิธี ได้แก่ การถามในลักษณะสรุปคำตอบ การชี้นำคำตอบ การรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง การเปลี่ยนคำถาม การซ้ำคำถาม การใช้ประโยคบอกเล่าเพื่อยั่วยุ การตั้งคำถามจากเหตุการณ์สมมุติและการตั้งคำถามแย้ง นอกจากนี้เพื่อให้การสัมภาษณ์บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้กลวิธีเสริมการถามอีก 5 กลวิธี ได้แก่ การเสริมคำตอบ การทวนคำตอบ การกล่าวแสดงความชื่นชมผู้ให้สัมภาษณ์ การหยอกเย้าและการตัดบท เมื่อศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ผู้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ที่เน้นวัตถุประสงค์ต่างกันสองประเภทใช้กลวิธีการถามและกลวิธีเสริมการถามแตกต่างกัน กลวิธีการถามและกลวิธีเสริมการถามที่ผู้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ที่เน้นวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้สัมภาษณ์เลือกใช้มากจนถือเป็นลักษณะเด่นของการสัมภาษณ์ ได้แก่ การถามในลักษณะสรุปคำตอบ การชี้นำคำตอบ การเสริมคำตอบ การทวนคำตอบ การกล่าวแสดงความชื่นชมผู้ให้สัมภาษณ์และการหยอกเย้า ในขณะที่กลวิธีการถามและกลวิธีเสริมการถามที่ผู้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ที่เน้นวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อเท็จจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์เลือกใช้มากจนถือเป็นลักษณะเด่นของการสัมภาษณ์ ได้แก่ กลวิธีการรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง การเปลี่ยนคำถาม การซ้ำคำถาม การใช้ประโยคบอกเล่าเพื่อยั่วยุ การตั้งคำถามจากเหตุการณ์สมมุติ การตั้งคำถามแย้งและการตัดบท ความแตกต่างของการเลือกใช้กลวิธีนี้อธิบายได้ด้วยเรื่องปริบทของการสัมภาษณ์ จากการศึกษาเรื่องปริบทของการสัมภาษณ์พบว่า รายการทไวไลท์โชว์และรายการไอทีวีทอล์คมีปริบทที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ร่วมเหตุการณ์ การสื่อสาร ในรายการทไวไลท์โชว์ ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดีตลอดการสัมภาษณ์คู่ถ้อยคำถาม-ตอบที่พบเป็นแบบเสร็จสิ้นในหนึ่งคู่มากกว่าที่ปรากฎในรายการไอทีวีทอล์ค กลวิธีที่ปรากฎเป็นไปในลักษณะของการช่วยทำให้คำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์ฟังดูดียิ่งขึ้น ในขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ในรายการไอทีวีทอล์คให้ความร่วมมือในการตอบคำถามน้อยกว่าผู้ให้สัมภาษณ์ในรายการทไวไลท์โชว์ กลวิธีที่ปรากฎใช้จึงมักเป็นไปในลักษณะของการคาดคั้นและรุกไล่คำตอบอยู่เสมอ คู่ถ้อยคำถาม-ตอบแบบยืดเยื้อจึงปรากฎในรายการนี้มากกว่าในรายการทไวไลท์โชว์ |
Other Abstract: | The present study aims at examining questioning strategies adopted in two types of television interview--the image-projecting interview and the fact-seeking interview. The data includes 10 Twilight Show interviews and 10 ITV Talk interviews. It is found that the interviewers of the two programs adopt various questioning strategies to achieve their ends. Interrogatives as well as affirmatives are used for asking questions. The eight questioning strategies adopted are stating an information-checking question, guiding to a certain answer, pressing for an answer by a follow-up question, restating a question, repeating a question, stating an asserting as provocation, using hypothetical question, and stating counter evidence. The supportive strategies are adding information, repeating an answer, praising, teasing, and cutting irrelevant response short. A contrastive study shows that the interviewers of the two programs prefer different strategies. The most preferred strategies in the image-projecting interviews are stating an information-checking question, guiding to a certain answer, adding information, repeating an answer, praising, and teasing, while the most adopted strategies in the fact-seeking interviews are pressing for an answer by a follow-up question, restating a question, repeating a question, stating an asserting as provocation, using hypothetical question, stating counter evidence, and cutting irrelevant response short. That the two interviewers adopt different strategies can be explained by the differences of the interviewing contexts, especially the participants' attitudinal alignment. In Twilight Show interview, the interviewee cooperates in answering questions throughout the program. The pairs of question-answer often found are of the complete type. The strategies needed are only those that make answers sound better. On the contrary, in ITV Talk interview, the interviewee cooperates less. Thus, the adopted strategies tend to be ones that force and press for an answer. And the pairs of question-answer frequently found are of the continued typed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9678 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.22 |
ISBN: | 9743346996 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.22 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapaipan_Ph_front.pdf | 776.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch1.pdf | 861.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch2.pdf | 794.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch3.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch4.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch5.pdf | 955.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_ch6.pdf | 762.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapaipan_Ph_back.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.