Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9694
Title: | การพัฒนาต้นแบบระบบค้นคืนภาพถ่ายทางอากาศบนอินเตอร์เน็ต |
Other Titles: | A development of prototype of aerial photo inquiry system on the Internet |
Authors: | อาทิตย์ วงศ์เยาว์ฟ้า |
Advisors: | อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อินเตอร์เน็ต ภาพถ่ายทางอากาศ ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่บนภาพถ่ายทางอากาศทำให้มองเห็นความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิประเทศได้อย่างชัดเจน ภาพถ่ายทางอากาศจึงเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่มีความสำคัญในงานสำรวจและผลิตแผนที่ นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศในโครงการต่างๆ อีกมากมาย เช่น งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ งานด้านสิ่งแวดล้อม การติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ (Change Detection) เป็นต้น ในปัจจุบัน กรมแผนที่ทหารเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลกำกับการบินถ่ายภาพทางอากาศและให้บริการภาพถ่ายทางอากาศ อย่างไรก็ตาม การใช้บริการภาพถ่ายยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ด้วยปริมาณภาพถ่ายที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ล้านภาพ กอปรกับการค้นหาภาพด้วยวิธีเชิงเอกสาร ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงื่อนไขที่ค้นหามีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การค้นหาภาพถ่ายที่ครอบคลุมแม่น้ำปิงบริเวณเมืองกำแพงเพชร โดยขยายพื้นที่เป็นระยะ 1 กิโลเมตรจากริมแม่น้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้บริการภาพถ่ายยังจำกัดอยู่เฉพาะช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการค้นหาภาพถ่ายทางอากาศจึงเป็นแนวทางที่จะให้การให้บริการภาพถ่ายป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้ใช้และสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการใช้งานระบบ ระบบต้นแบบสำหรับค้นหาภาพถ่ายทางอากาศบนอินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคที่เกิดจากการทำงานโดยวิธีดั้งเดิม โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้เพื่อออกแบบโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งได้ออกแบบไว้ให้สามารถใช้งานโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 2) การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับเงื่อนไขในการค้นหาภาพ คือ เงื่อนไขเชิงบรรยาย และเงื่อนไขเชิงตำแหน่ง การคำนวณเชิงตำแหน่งจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของระบบภูมิสารสนเทศซึ่งจะทำงานอยู่เบื้องหลัง เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพถ่ายทางอากาศที่ตรงตามเงื่อนไข 3) การวิเคราะห์เพื่อกำหนดขนาดและความละเอียดที่เหมาะสมของาพสแกนสำหรับการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการเรียกดูภาพเบื้องต้น จากการทดสอบระบบสามารถสรุปได้ว่าระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถค้นหาภาพถ่ายทางอากาศผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่าการค้นหาโดยใช้วิธีเดิม และเพื่อประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ควรมีการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลอื่นๆ ต่อไป เช่น การประยุกต์ใช้กับภาพถ่ายดาวเทียม การศึกษาการบีบอัดภาพถ่าย เป็นต้น |
Other Abstract: | The matters of fact that are manifested in aerial photographs obviously show the proceeding of real world. Thus, aerial photograph has been the primary source in the field of surveying and mapping and also applied in so many other national development projects such as infrastructure development, environmental researches, change detection and monitoring. The Royal Thai Survey Department (RTSD) is the government agency that provides the aerial photograph service. Unfortunately, there are some limitations in using the service. Recently RTSD maintains more than 2 million aerial photographs. Such a huge number of data makes it time-consuming to search for desired photographs using document-based approach. In addition, the current procedure cannot respond complex search-conditions arisen from user requirements; for instance,. finding aerial photographs covering the area extending 1 km from banks of a river passing through a specified area. Also, the service is available only on working time. To eliminate the limitations of aerial photograph service, the implementation of the automatic search engine is needed. The development procedure of the Internet-based aerial-photograph search engine prototype comprises 1) user requirement analysis and application design. The application is designed to be accessed via Internet in order to make the system 24-hour available no matter where the users are. 2) Database is designed to support the search conditions including attribute-and location-based search conditions. The later is the key factor that GIS technology is needed for the implementation. 3) Which is the appropriate size and resolution for low-resolution scanned images of aerial photograph is also studied to make the preview image. The experiment shows that using the prototype to search for desired aerial-photograph improves the performance of the current service. To fully utilize the research result to the public, further studies are required, for instance, applying the system to search satellite imageries and the study of digital image compression. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9694 |
ISBN: | 9740314295 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arthit.pdf | 18.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.