Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9803
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์-
dc.contributor.authorมาโรจน์ ขจรไพศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-08-07T06:41:14Z-
dc.date.available2009-08-07T06:41:14Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740311113-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9803-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาการควบคุมการทำประโยชน์ที่ดินของประเทศไทย และสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดิน 3 ประการคือ นโยบายที่เกี่ยวกับการควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดิน และองค์กรที่บังคับกฎหมายควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดิน จากการศึกษาพบว่า การควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยตราเป็นกฎหมาย แต่การบังคับใช้ไม่จริงจังและมีการพัฒนาการตลอดมา โดยมีความสัมพันธ์กับสภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบันระบบกฎหมายไทย มีกฎหมายควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินในกฎหมายหลายฉบับ แต่วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินหรือส่งเสริมการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินได้เกิดจากปัจจัย 3 ประการ นโยบายควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินประกอบด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยใช้เกษตรกรมเป็นพื้นฐานปัจจัยการผลิต มุ่งนำทรัพยากรมาใช้และต่อๆ มามีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ไม่ให้ความสำคัญกับการทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ นโยบายของรัฐบาลทั้งนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี มีความมุ่งหมายควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการ เนื่องจากบริหารงานในระยะเวลาสั้นตามสภาพการเมือง ทำให้มุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทำให้ไม่ทันต่อปัญหา นโยบายที่เกี่ยวกับการควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินประกอบด้วย นโยบายที่ดิน นโยบายป่าไม้แห่งชาติ นโยบายการใช้และกรรมสิทธิ์ที่ดิน นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นนโยบายที่ขาดเอกภาพเนื่องจากเป็นการมองปัญหาที่ดินแบบแยกส่วน ทำให้ขาดเป้าหมายการใช้ประโยชน์ในที่ดินในภาพรวม เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นตามภาระกิจในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินได้อย่างเต็มที่ กฎหมายที่ใช้ควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดิน ประมวลกฎหมายที่ดินยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ในหลักการทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งให้มีความยืดหยุ่นมากเกินทำให้ไม่มีผลในการบังคับใช้ ในขณะที่ดินที่รัฐจัดให้แก่ราษฎรนั้น ทั้งกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อครองชีพ มุ่งควบคุมการทำประโยชน์เฉพาะก่อนได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน ไม่มีการควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ส่งเสริมการทำประโยชน์ในที่ดิน แทบไม่มีการบังคับใช้ในปัจจุบันและขาดองค์กรระดับนโยบาย มีเพียงเพื่อการประสานงานทำประโยชน์ที่ดิน องค์กรในการบังคับใช้กฎหมายยังขาดองค์กรนโยบายที่ดินระดับชาติ ส่วนองค์กรกำหนดนโยบายเน้นภารกิจที่แตกต่างกันไป คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เน้นการจัดที่ดินให้ราษฎรเป็นหลัก การควบคุมการทำประโยชน์มุ่งเพียงการปรามให้เกรงกลัว เพื่อกระตุ้นการทำประโยชน์เท่านั้น องค์กรปฏิบัติในชุมชนมีปัญหาหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ข้อมูลที่ดิน วัฒนธรรมชุมชน จึงไม่มีการบังคับใช้จริงจัง ในขณะที่การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขาดนโยบายที่ชัดเจน และไม่มีองค์กรควบคุมส่งเสริม องค์กรที่กฎหมายกำหนดเป็นเพียงประสานงานผู้เช่าและผู้ให้เช่าเท่านั้น ผู้เขียนเสนอแนะว่า รัฐควรกำหนดนโยบายที่ดินระดับชาติให้เป็นนโยบายเดียวกัน มีเอกภาพโดยมองภาพรวมการใช้ประโยชน์ในที่ดินสูงสุด มีเป้าหมายชัดเจน สอดคล้องกันเพื่อสวัสดิภาพสังคมและประโยชน์สาธารณะ โดยปรับปรุงคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ให้เป็นคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบายที่ดินแห่งชาติ ให้มีอำนาจทางการเมือง และเพื่อกระตุ้นการทำประโยชน์ในที่ดิน ควรใช้ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าและภาษีที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ โดยมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ในอัตราที่สัมพันธ์กันแผนการใช้ที่ดินให้มีผลบังคับใช้ทางกฏหมายโดยเร่งรัดแหล่งทุนในการปฏิรูปที่ดินจัดตั้งธนาคารที่ดินไม่ว่าจะในรูปแบบใดให้สามารถดำเนินการในที่ดินเอกชนได้เต็มที่และกระจายอำนานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินในชุมชน ควบคุมเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม บริหารจัดการภาษีที่ดินในชุมชนen
dc.description.abstractalternativeThis study introduces qualitative analysis to the issue of land use control of Thailand and enforcement of land use control law due to (1) land use control policy, (2) land use control law, (3) organization of land use control. The findings of the research paper suggest that Kingdom of Thailand has land use control laws from Ayutthaya and its is changes in relative political, administrative, economy, social, but laws not only fail to enforcement, they also create land use problem. Thailand legal system has many land use control laws which different from its spirit such as control land utilization or promotion land utilization. Its can be logically concluded that the land use control problem have been come form law enforcement because of (1) land use control policy (2) land use control law (3) law enforcement organization. Land use control policy can be categorized as follows: National Economy and Development Plans, moving from an agricultural-base to industry economy the evolutionary process have use full natural resource and low conservation. Government policy provides a clear picture of land use control, but the result of short time administration from political system are usually effect to solve problem. National Land Policy, National Forestry Policy, Land Use Policy, Agricultural Land Reform Policy are many aim relate to land use control . Its is almost always look land use problem different distinct views with look land use problem and land use control may be divided by objective of departments. The Land Code which is basic land law also empowers the Department of Land to control land use, but unclear land use principle make many elastic enforcement and look hardly enforcement law. Agricultural Land Reform Act, Land allocation Act, have been control land use before only given full ownership to farmers. Agricultural Land Rent Control Act, Its promotion land utilization, but lack enforcement effect in rural and authorities of organization have function to co-ordinate between farmers and land holders. From the above many policy, Its is quite clear that have many Thailand law enforcement organization. Land Committee, Its distribute land to the ladles and land use control for only stimulate land utilization and law enforcement in community have many problem from land data, community culture. Thailand have unclear agricultural land rent policy. The writer suggests that Thailand should have National Land Policy which unity and view full utilization of land relate the other policy for social welfare and public interest by adjust Land Committee to National Land Committee and have political power. The general concept of land use control in Thailand, the study support that progressive land tax, highest unused land tax should use instead of land tax and should decentralization to local government and should follow Land Use Map, Land Use Zoning should accelerate capital suicides for land reform by land bank and another for private rural areas and promote local government to control land use and agricultural land rent, administration land tax in rural communityen
dc.format.extent4612225 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกฎหมายที่ดิน -- ไทยen
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทยen
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการทำประโยชน์ในที่ดินen
dc.title.alternativeLegal measure for land use controlen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Marote.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.