Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9829
Title: | เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยการต่อต้านภาษี : ศึกษากรณีการต่อต้านค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรม |
Other Titles: | Political economy of tax revolt : a case study of the Provincial Administrative Organization's hotel fee |
Authors: | อรนันท์ กลันทปุระ |
Advisors: | จรัส สุวรรณมาลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษี -- ไทย โรงแรม -- ภาษี การจัดการโรงแรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีบำรุงท้องที่ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาลักษณะและสาเหตุของการต่อต้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ รวมถึงวิธีการจัดการกับปัญหาการต่อต้านขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 2542-2545 ผู้วิจัยได้คัดเลือกจังหวัดเพื่อเป็นกรณีศึกษาจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วยจังหวัดที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ ในการจัดการกับปัญหาการต่อต้าน กลุ่มละ 3 จังหวัด คือ กลุ่มแรกคือ ตราด เชียงใหม่ และชลบุรี กลุ่มที่สองคือ นครราชสีมา ภูเก็ต และกาญจนบุรี และได้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติและการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ประกอบการโรงแรม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจข้อมูลจากเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2545 ถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2546 ผลจากการศึกษาพบว่า การต่อต้านเกิดจากผู้ประกอบการโรงแรมซึ่งเป็นผู้ต่อต้าน มีความเห็นว่าวิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จะทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมต้องแบกรับภาระค่าธรรมเนียมฯ มากเกินไป ทั้งภาระที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน และเห็นว่าการจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค ทำให้เสียเปรียบโรงแรมในจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่จัดเก็บหรือจัดเก็บในอัตราต่ำกว่า นอกจากนี้กลุ่มต่อต้านในบางจังหวัดยังเห็นว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดขาดความชอบธรรมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯ เพราะไม่มีพื้นที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน อีกทั้งมีภาพพจน์ที่ไม่ดีและไม่น่าเชื่อถือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่ 5 ใน 6 จังหวัดที่เป็นกรณีศึกษาคือ ตราด ชลบุรี นครราชสีมา ภูเก็ต และกาญจนบุรี จัดการกับปัญหาการต่อต้านโดยใช้วิธีการเจรจาต่อรอง โดยในจำนวนนี้มี 2 จังหวัดแรกที่ประสบผลสำเร็จ เพราะสามารถประนีประนอมในวิธีการจัดเก็บ และการจัดสรรรายได้จากค่าธรรมเนียมฯ กับฝ่ายต่อต้านได้ ในขณะที่ 3 จังหวัดหลัง ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะหาทางประนีประนอมกับฝ่ายต่อต้านไม่ได้ สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ประสบผลสำเร็จได้ โดยใช้วิธีการบังคับให้ฝ่ายต่อต้านยอมรับในแนวทางการจัดเก็บที่กำหนดไว้ ซึ่งพบว่าเป็นจังหวัดที่ประสบความสำเร็จในการบังคับใช้ ข้อบัญญัติจังหวัดว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ มากกว่าจังหวัดอื่นๆ ที่เป็นกรณีศึกษา |
Other Abstract: | To investigate characteristics, causes, and development of tax revolt in the provincial administrative organizations' hotel fees during 1999-2002. Six provincial administrative organizations had been selected as studied cases, including three successful cases : Trat, Chiangmai, and Chonburee, and another three unsuccessful cases : Nakornratchasima, Phuket, and Kanchanaburee. Information regarding the attitudes, perceptions, and behaviors of those who directly involved in the tax revolts in the six provinces had been collected by in-dept interviews and documentary surveys during July 2002 and July 2003. The research findings disclose that hotel owners, who collectively protested the hotel fees collections, perceived that the ways the hotel fee were to be collected would yield too much burdens, both in terms of money and non-money, upon their business that they could bear. Furthermore, those who protested perceived that the hotel fees were unfair as some types of hotels would have to bear more monetary burdens than others, which in turn created competitive disadvantages for particular groups. The protests also content that provincial administrative organizations were not legitimate for collecting hotel fees as the local authorities had nothing to do with hotel and tourism promotion in the past, were not trustable, and had rather bad image. Together all the reasons above, the hotel owners thus collectively decided to run for tax revolt. The provincial administrative organizations in the six studied cases tried on their own ways to cope with hotel owners' tax revolts. Five provinces, including Trat, Chonburee, Nakornratchasima, Phuket, and Kanchanaburee, seeked common resolutions through bargaining process. Trat and Chonburee were highly successful, while the other three were not. Chiangmai provincial administrative organization was an exceptional case in dealing with the protest by using cohesive, co-opted processes, and non-bargaining approach. It was found that Chiangmai was the most successful among the six studied cases in imposing hotel fee collection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9829 |
ISBN: | 9741752741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Oranan.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.