Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9914
Title: ความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 ต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
Other Titles: Opinions of the sixth year medical students to Universal Coverage Health Insurance Policy
Authors: บุณฑริกา อินทสิงห์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
อานนท์ วรยิ่งยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ประกันสุขภาพ
ทัศนคติ
นักศึกษาแพทย์
แพทยศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 ต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในด้านตัวชี้วัดนโยบายและด้านกิจกรรมหลัก โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2545กุมภาพันธ์ 2546 จากกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 753 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 555 คน (อัตราตอบกลับ 73.7%) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test และ Spearman's Rank Correlation Coefficient ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง 55.9% มีอายุเฉลี่ย 23.5 ปี มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ภาคกลาง 40.4% โดยอยู่ในเขตเทศบาล 87.5% ครอบครัวมีสิทธิการรักษาพยาบาล 72.1% ใช้ทุนส่วนตัว 82.5% สถานบริการที่ต้องการไปปฏิบัติงานมากที่สุดคือ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 33.9% เมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว เลือกที่จะศึกษาต่อ 86.1% โดยเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาประเภทที่ 2 (สาขาหลัก) 60.3% ประเด็นของความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 ต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านตัวชี้วัดนโยบายอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลางถึงค่อนข้างมาก (3.84) ด้านกิจกรรมหลักงานรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง (3.50) และด้านกิจกรรมหลักงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (4.06) และนิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 มีความคิดเห็นต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านตัวชี้วัดนโยบายและด้านกิจกรรมหลัก โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ตามปัจจัยแหล่งข้อมูลที่ได้รับจากภาคทฤษฏี ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนานิสิต/นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 โดยจัดให้มีการปฐมนิเทศ การอบรม สัมมนาและสอดแทรกเนื้อหาในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานจริงภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้นต่อไป
Other Abstract: To explore the opinions of the sixth year medical students concerning two aspects of Universal Coverage Health Insurance Policy (UC) : indicators and core package. Data were collected by mailing self-administered questionnaire to 753 sixth year medical students all over the country during December 2002-February 2003. Total 555 sixth year medical students completed the questionnaire (73.7% response rate). Data were analyzed by Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test, and Spearman's Rank Correlation Coefficient. The study results showed that the majority of the subject were female (55.9%) with an average age of 23.5 years. Most of them resided in the central region (40.4%) and municipal area (87.5%). In addition, 72.1% of them had family health care privilege and 82.5% were financially supported by their families. 34% aimed to work in regional/general hospitals after their graduation, and 86.1% planned to seek further training in type 2 specialties (obstetrics-gynecology, internal medicine, pediatrics, and surgery) in the future. Their opinions toward the UC's indicators ranged from moderate to high (3.84 on average), and those toward the UC's core packages were also from moderate to high, and were 3.50 on average for medical treatment and rehabilitation package and 4.06 on average for health promotion and disease prevention package. Further analyses showed that the student's opinions toward the UC's indicators and core packages were statistically different (p<0.05) depending on the source they had learned about UC in theory. The author suggests that there should be an orientation /seminar /lecture about theoretical and practical aspects of the UC for the sixth year medical students, to enable them to have a better understanding, attitude, and more effective performance during their medical practice after graduation
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9914
ISBN: 9741732856
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buntariga.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.