Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9992
Title: | การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อการผลิตข้าว : กรณีศึกษาของประเทศไทย |
Other Titles: | Impact of technological changes on paddy production : the case study of Thailand |
Authors: | เปล่งยศ สกลกิติวัฒน์ |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ข้าว -- ไทย ข้าว -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี -- ไทย |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตข้าว ที่มีต่อภาคการผลิตข้าว ภาคการผลิตอื่นๆ และระบบเศรษฐกิจรวม โดยอาศัยแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ครอบคลุมทุกส่วนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้สามารถศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆ กัน ส่วนข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา อาศัยตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตปี พ.ศ. 2538 เพื่อใช้สร้างฐานข้อมูลสำหรับแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป สำหรับโครงสร้างภาคการผลิตในแบบจำลองมี 8 สาขาการผลิต ประกอบด้วย ภาคการผลิตข้าวอีสาน ภาคการผลิตข้าวนอกอีสาน ภาคเกษตรอื่นๆ ภาคเกษตรอุตสาหกรรม ภาคโรงสีข้าว ภาคอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า ภาคอุตสาหกรรมส่งออกและภาคบริการ ซึ่งแต่ละภาคการผลิตจะผลิตสินค้าเพียงชนิดเดียว ส่วนเทคโนโลยีที่ศึกษาประกอบด้วย เทคโนโลยีปัจจัยแรงงาน เทคโนโลยีปัจจัยทุนและเทคโนโลยีปัจจัยที่ดิน ผลการศึกษาพบว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมเกิดการขยายตัว โดยการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีปัจจัยแรงงาน ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต มากกว่าการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีในปัจจัยอื่น และการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีการผลิตข้าวในภาคการผลิตข้าวนอกอีสาน ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่า การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีในภาคการผลิตข้าวอีสาน การศึกษานี้ช่วยให้ทราบถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และผลกระทบที่ภาคการผลิตอื่นจะได้รับจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าว ตลอดจนใช้เป็นแนวทางสำหรับการเลือกพัฒนาเทคโนโลยีข้าว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่การผลิตข้าวนั้น |
Other Abstract: | To study the impact of technological changes in paddy sector, other sectors and other macro-economic variables. The methodology employed is that of general equilibrium approach. Furthermore, the data used in this approach is based on the input-output table in 1995. There are 8 sectors of production that are ESAN paddy, NONESAN paddy, other agricultures, agro-industries, rice mill, export manufacturing, import competing manufacturing and services. Each sector produces single output. As for the technology, it consists of labor technology, capital technology and land technology. The simulation results indicate that the technological progress would boost the expansion of Thai economy. In addition, the increase of labor technology would lead to higher economic enlargement than the increase of other technology. Besides, the technological progress of NONESAN paddy would give more economic growth than technological improvement in ESAN paddy. Results of this research point to the benefits of technological changes both in terms of growth and indirect impacts on other sectors. Also, this research could be applied as the way to choose an appropriate technology of paddy production |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9992 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.521 |
ISBN: | 9740313353 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.521 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Plengyot.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.