Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12670
Title: บทบาทของกลุ่มทุนการเงินในการพัฒนาตลาดทุนไทย
Other Titles: The role of financial capitalist on the Thai capital market development
Authors: ชาญชัย กุลถาวรากร
Advisors: สมเกียรติ โอสถสภา
สมภพ มานะรังสรรค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: ตลาดทุน -- ไทย
นายทุน -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงบทบาทของกลุ่มทุนการเงินกับการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยศึกษาถึงประวัติ องค์ประกอบและพฤติกรรมของกลุ่มทุนการเงินที่มีบทบาทและสร้างผลกระทบต่อตลาดทุน กรอบความคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาได้ใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์สถาบันเป็นทฤษฎีหลัก เนื่องจากระบบตลาดไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้การแข่งขันไม่สมบูรณ์อย่างที่ควรเป็นตามกรอบแนวคิด ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เชื่อในกลไกตลาด เพราะอำนาจและอิทธิพลของกลุ่มทุนการเงินนั้น มีผลต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสร้างต้นทุนธุรกรรมที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังมีระดับของการผูกขาดในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดทุน หาได้มีความเสรีเต็มรูปแบบในโลกแห่งความเป็นจริง ตามแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ที่เน้นการเปิดเสรีการตลาด การเปิดเสรีการค้า และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของกลุ่มทุนการเงินในตลาดทุนไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ กลุ่มทุนต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยอาศัยกองทุนประกันความเสี่ยงหรือเฮดจ์ฟันด์เป็นตัวแทน ในการโจมตีค่าเงินเนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ตลอดจนการเข้าเทคโอเวอร์กิจการของทุนต่างชาติ ส่วนกลุ่มทุนการเมืองในอดีตที่ผ่านมา ได้ใช้อิทธิผลทางการเมืองในการจองหุ้นออกใหม่ (IPO) โดยเฉพาะหุ้นรัฐวิสาหกิจชั้นดีซึ่งได้สร้างกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มทุนนี้ ด้านนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดทุนพบว่ามีการสร้างราคาหุ้นอย่างเป็นระบบ โดยบางคนมีส่วนเกี่ยวพันและผลประโยชน์ร่วมกันกับกลุ่มทุนการเมือง เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ ปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาตลาดทุนที่สำคัญ คือ การที่กลุ่มทุนการเงินได้สร้างเครือข่ายและดึงอิทธิพลเข้ามาแสวงหาส่วนเกินจากตลาดทุน ดังนั้นการพัฒนาตลาดทุนไทย ต้องมีกฎระเบียบที่เหมาะสม และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในตลาดทุนอย่างทันท่วงที ด้านผู้ลงทุนควรศึกษาและมีความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนในเกณฑ์ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต้องประสานเพื่อวางแผนพัฒนาให้เหมาะสม โดยการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในส่วนของบริษัทจดทะเบียน นักลงทุนไทยและต่างชาติรวมถึงหน่วยงานของรัฐต่างๆ ที่กำกับดูแลตลาดทุนไทย
Other Abstract: To study the role of financial capitalists on the Thai capital market focusing on the history, structure, and behavior of financial capitalist groups that impact the development of Thai capital market. The concept framework and theory used in this study are based on the Neo Institution Economics since the market mechanism is not efficient resulting in inefficiency in the competitive environment. This inefficiency is the result of the influence of financial capitalist groups that impact on the accessibility to information, creation of lower transactional cost, including the limitation on trading within the stock market. This environment does not reflect the environment that the liberalization economics promote such as market liberalization ,trade liberalization, and privatization. The result of the analysis discover that the role of financial capitalists can be categorized into 3 large groupings, namely : Foreign Hedge Funds that mostly speculate on the baht currency due to political instability and economic fundamental that do not reflect the real economy. This group also invested in M&A of Thai listed companies. Another group under this study is the political capitalist which has exercised their influence in the past for example in the past reserving IPO stocks of state enterprise under privatization. The last category comprise of large investors, which we found created wealth by supporting stock prices and taking profit. The problems and obstacles in the development of Thai capital market are these capitalist groups form networks in order to profit from surplus in the capital market. Thailand needs clear rules and regulations that can be used in every situation and build a culture of good governance in every sector of capital market such as listed companies, investor, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12670
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanchai_ku.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.