Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12926
Title: การบริหารการจัดซื้อของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
Other Titles: Purchasing management in the autoparts industry
Authors: พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
สุพล ดุรงค์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การจัดซื้อ -- การจัดการ
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงการจัดซื้อของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่นำเข้าโดยทางเรือ โดยศึกษาถึงเหตุผลที่บริษัทต่างๆ ของกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบและวิธีการในการลดต้นทุนด้านการจัดซื้อ ซึ่งวิธีการลดต้นทุนด้านการจัดซื้อ มี 4 วิธี ได้แก่ วิธีการลดต้นทุนด้วยเงื่อนไขและเทอมทางการค้า วิธีการจัดทำข้อตกลงในการซื้อปริมาณมาก วิธีการลดต้นทุนด้วยทรัพยากรภายนอก และวิธีการลดต้นทุนด้วยสิทธิประโยชน์ภาษีศุลกากร ตลอดจนนโยบายและหลักการจัดซื้อ รวมทั้งวิธีการประเมินความสามารถด้านการจัดซื้อ ผลการศึกษาพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ใช้วิธีการลดต้นทุนด้วยเงื่อนไขและเทอมการค้ามากที่สุด รองลงมาเป็น วิธีการลดต้นทุนด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีศุลกากร และวิธีการลดต้นทุนด้วยการจัดทำข้อตกลงในการซื้อปริมาณมาก ตามลำดับ แต่วิธีการลดต้นทุนด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีศุลกากร มีค่าเฉลี่ยของสัดส่วนต้นทุนต่อปีลดลงมากที่สุด กล่าวคือ กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีผู้ประกอบการคนไทยเป็นเจ้าของ มีค่าเฉลี่ยของสัดส่วนต้นทุนต่อปีลดลง 25% เมื่อเทียบกับต้นทุนรวมของการจัดซื้อจากต่างประเทศ ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีการ่วมทุนกับต่างประเทศ่ มีค่าเฉลี่ยของสัดส่วนต้นทุนต่อปีลดลง 15% เมื่อเทียบกับต้นทุนรวมของการจัดซื้อจากต่างประเทศ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการประเมินการจัดซื้อ ด้วยการปฏิบัติของผู้ขายมากที่สุด รองลงมาเป็นใช้การประหยัดของฝ่ายจัดซื้อ และใช้การเปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อกับต้นทุนมาตรฐาน น้อยที่สุด ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเกณฑ์ในการวัดคุณภาพ มากที่สุด รองลงมาใช้เกณฑ์ราคา เกณฑ์เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ และเกณฑ์ในการวัดปริมาณ ตามลำดับ
Other Abstract: To investgate factors affecting the 4 types of cost reduction on purchasing in Thai autopart industry namely, (i) cost reduction by changing term and conditions, (ii) cost reduction by large volume contract, (iii) cost reduction by outsourcing management, and (iv) cost reduction by customs tariffs & privileges. This paper also studies the purchasing policy and methodology of the studies industry. The findings are that most of the companies applied cost reduction by changing terms and conditions of payment, followed by customs tariffs & privileges, and cost reduction by large volume contract, respectively. However, the study finds that cost reduction by customs tariffs & priviliges provides the highest level of cost reduction per year that is 25% in cost reduction for the Thai owner's companies and 15% for the joint venture's companies. Finally, the study finds that most of the companies evaluate their purchasing evaluation through the suppliers' performance followed by cost savings gained from purchasing, and comparing the actual purchasing cost with standard cost, respectively. However, the right quality of purchasing was the most considerable factor for purchasing performance evaluation followed by price, time and place, and quantity, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12926
ISBN: 9741735529
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornprasit_de.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.