Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13417
Title: | กระบวนการเติบโตทางวิชาชีพของครูอนุบาลที่มีวุฒิภาวะทางวิชาชีพ : การศึกษาโดยวิธีการสร้างทฤษฎีพื้นฐานเชิงอุปมาน |
Other Titles: | A professional growth process of kindergarten teachers at the maturity stage : a grounded theory study |
Authors: | ศิรประภา พงศ์ไทย |
Advisors: | ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ครูอนุบาล ความชำนาญทางวิชาชีพเฉพาะด้าน |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทฤษฎีสำหรับอธิบายกระบวนการเติบโตทางวิชาชีพของครูอนุบาล วิธีการวิจัยที่ใช้คือการสร้างทฤษฎีเชิงอุปมาน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการให้รหัสเชิงทฤษฎี 3 แบบบ คือ 1) การให้รหัส แบบเปิดกว้าง 2) การให้รหัสแบบแกน และ 3) การให้รหัสแบบคัดเลือก กลุ่มตัวอย่งเชิงทฤษฎี ได้แก่ ครู อนุบาลที่มีวุฒิภาวะทางวิชาชีพ จำนวน 9 คน ผลการวิจัย คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเติบโตทางวิชาชีพ ของครูอนุบาลที่มีวุฒิภาวะทางวิชาชีพ จำแนกได้ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 กระบวนการเข้าสู่วิชาชีพครูอนุบาล คือ ระยะที่ผู้ให้ข้อมูลเริ่มต้นด้วยความสนใจในวิชาชีพสูงในช่วงการเลือกอาชีพ ซึ่งจำแนกได้ 2 หมวดหมู่ คือ 1) สนใจ และ 2) ไม่สนใจ จากนั้น ดำเนินมาสู่วิธีการเข้ามาเป็นครูอนุบาล ซึ่งจำแนกได้ 3 แบบแผน คือ 1) เลือกเรียนครุศาสตร์ 2) เปลี่ยนมาเป็นครูอนุบาลอย่างตั้งใจ และ 3) เลือกโอกาสที่ผ่านเข้ามาอย่างไม่ตั้งใจ เงื่อนไขของระยะนี้ คือ เงื่อนไขทางสังคม เงื่อนไขทางจิตวิทยา และเงื่อนไขเชิงโอกาส ระยะที่ 2 กระบวน การพัฒนาเชิงวิชาชีพ คือ ระยะที่ผู้ให้ข้อมูลเข้าสู่การเป็นครูอนุบาลและผ่านการพัฒนา 2 ด้าน คือ 1) การพัฒนาความแน่วแน่ในการเป็นครูอนุบาล กล่าวคือ เมื่อผู้ให้ข้อมูลทำงานเป็นครูอนุบาล จะได้รับ ประสบการณ์ทั้งทางบวกและทางลบ ส่งผลให้เกิดภาวะทั้งหวั่นไหวและมั่นใจในการเป็นครูอนุบาล วนซ้ำใน ลักษณะวงจรก้าวหน้าจนเกิดเป็นความแน่วแน่ในวิชาชีพ 2) การพัฒนาความสามารถจนถึงขั้นมีความมั่นคง กล่าวคือ เมื่อผู้ให้ข้อมูลเริ่มทำงานเป็นครูอนุบาลจะมีความสามารถขั้นเริ่มต้นการเรียนรู้ คือ จัดการเรียน การสอนไม่สอดคล้องกับหลักการการศึกษาปฐมวัย หรือสอดคล้องกับหลักการการศึกษาปฐมวัยในลักษณะ เลียนแบบไปจนถึงลักษณะเริ่มต้นรู้คิดด้วยตนเอง ครูมีทัศนะแบบแยกส่วน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานกับเด็ก และผู้ปกครอง เงื่อนไขของการพัฒนาความสามารถในขั้นนี้ คือ การมีกัลยาณมิตรเชิงอาชีพ การลงมือ กระทำควบคู่กับการได้รับความรู้ และการได้เห็นแบบอย่าง จากนั้นผู้ให้ข้อมูลจึงพัฒนาสู่ขั้นมีความมั่นคง คือ จัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับธรรมชาติและพัฒนาการเด็กจากการรู้คิดด้วยตนเอง ตระหนักถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กและให้ความสำคัญกับการทำงานกับผู้ปกครอง เงื่อนไขของการพัฒนา ความสามารถในขั้นนี้ คือ การมีกิจกรรมทางความคิดการคิดเชื่อมโยงการปฏิบัติกับหลักการและการมีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อต่อการพัฒนา ระยะที่ 3 การกลายเป็นครูอนุบาลที่มีวุฒิภาวะทางวิชาชีพ คือระยะที่ผู้ให้ข้อมูลพัฒนาตนเอง จนสามารถจัดการเรียนการสอนตามจุดยืนหรือปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลอย่างมีหลักการที่มั่นคงและจากการรู้คิดด้วยตนเอง ครูมีทัศนะแบบองค์รวม ซึ่งส่งผลต่อการทำงานกับเด็กและผู้ปกครองอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตและเคารพความเป็นมนุษย์ เงื่อนไขของการพัฒนาในระยะนี้คือ ครูตระหนักว่าการทำงานเป็นครูอนุบาลคือภารกิจทางวิชาชีพที่เป็นวิถีทางให้ครูพัฒนาชีวิตอย่างเป็นองค์รวม และการเชื่อโยงองค์ประกอบต่างๆ อย่างสมดุลและสมบูรณ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างเป็นองค์รวม |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop a theory for explaining a professional growth process of kindergarten teachers. The research methodology was a grounded theory study, utilizing in-depth interviews and participatory observations for data collection. Data analysis was consisted of 3 theoretical coding: 1) Open coding 2) Axial coding and 3) Selective coding. Theoretical samplings comprised 9 kindergarten teachers at the maturity stage. The finding of this research is a theory of a professional growth process of kindergarten teachers at the maturity stage which can be divided into 3 phases. Phase 1: The transition process in becoming a kindergarten teacher is a phase which the participants begin with the individual's interest in the teaching profession at the time of career search that can be divided into 2 categories: 1) interest and 2) non-interested. The next step is entering to a kindergarten teacher. This can be divides into 3 patterns: 1) Choosing to enroll in the Education Department 2) Intended turning to become a kindergarten teacher and 3) Unintended turning to become a kindergarten teacher. The conditions of this phase are social conditions, psychology conditions, and occasional conditions. Phase 2: The professional development process is a phase which the participants enter to be a kindergarten teacher through 2 categories of self-development: 1) The firm intention development in becoming a kindergarten teacher, as whenever the participants work as a teacher is getting both of positive or negative experiences, often causing uncertainty and confidence, but ultimately being round in a spiral growth cycle till become to career firming. 2) The development in one's of competency up to a stable level. Originally when the participants who work as kindergarten teacher have ability at primeval knowledge level may instruct teaching in or out of accordance with early childhood principle, start from imitation to self-initiative. Hereby teacher has a Fragmatic View that effect to work with children and parent. The conditions of this level are having the professional good friends, practicing interplay with learning, and having modeling. Then the participants can reach to stable level being able to instruct teaching suitable for natural and development of each child from self enlightened learning, realizing to child's individual differences and valued working with parent. The conditions of this level are thinking activity, reflecting between practice and principle, and having good personnel characteristic for developing. Phase 3: Becoming to a kindergarten teacher at maturity stage is a phase which the participants have self develop till can instruct teaching following a standing point or personnel philosophy with their own firming principle and self enlightened learning. Hereby teacher has a Holistic View that effect to work with children and parent by congruence with realistic life, and human respect. The conditions of this phase are relization to being a kindergarten teacher is a mission to develop life as a whole, and well-balanced in integarting components for holistic teacher development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษาปฐมวัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13417 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.513 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.513 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siraprapa.pdf | 9.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.