Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13601
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านโฆษณาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Other Titles: Effects of critical thinking-based instruction on the ability to read advertisements of fifth grade students in schools under Bangkok Educational Service Area Office 1
Authors: ดวงพร จิตใจมั่น
Advisors: มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
การอ่าน
โฆษณา
นักเรียนประถมศึกษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้หลักการสอนอ่านแบบชี้นำการคิด ที่มีต่อความสามารถในการอ่านโฆษณาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนมหาวีรานุวัตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 27 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวม 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านโฆษณา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านโฆษณา สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านโฆษณาสูงกว่าเกณฑ์ 60%
Other Abstract: To study the effects of critical thinking-based instruction by using the directed reading-thinking activities: DRTA on the ability to critical reading advertisements of fifth grade students. The subjects consisted of 27 students of fifth grade in the academic year 2007 from Mahawilanuwat School under Bangkok Educational Service Area Office 1. The duration in the experimental program was 9 weeks. The research instrument was the ability to read advertisements test. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows 1. The post-test mean score of the students’ ability to read advertisements was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance. 2. The post-test mean score of the students’ ability to read advertisements was higher than set criterion 60%.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13601
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1735
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1735
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangporn_Ji.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.