Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15884
Title: การพัฒนาเชิงโมเดลสาเหตุของการทุจริตในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The development of a causal model of cheating on examinations of upper secondary school students in Bangkok
Authors: อรนุช หงวนไธสง
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสอบ
การทุจริต (การศึกษา)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจวิธีการทุจริตในการสอบของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการทุจริตในการสอบของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันการทุจริตในการสอบของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน ตัวแปรที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 1 ตัวแปร ได้แก่ การทุจริตในการสอบ และตัวแปรภายนอกแฝง 5 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง ปัจจัยด้านคุณธรรม ปัจจัยด้านการจัดการในห้องสอบ ปัจจัยด้านการใช้เหตุผล และปัจจัยด้านแรงจูงใจ โดยตัวแปรแฝง วัดจากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 11 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้ตั้งแต่ 0.79-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีวิธีการทุจริตในการสอบ คือ วิธีการเปิดเผยกระดาษคำตอบให้เพื่อนลอกมากที่สุด รองลงมาคือวิธีการศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของอาจารย์ผู้คุมสอบเพื่อเป็นประโยชน์ในการลอกข้อสอบ และวิธีการสังเกตลักษณะท่าทางของอาจารย์ที่คุมสอบเพื่อวางแผนในการลอกข้อสอบ ตามลำดับ 2.โมเดลเชิงสาเหตุของการทุจริตในการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเขต กรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไคว์-สแควร์ = 33.48, ค่าองศาอิสระ=26, ค่า p=0.15, GFI=0.989, AGFI=0.972 และ RMR=0.02) โมเดลประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการทุจริตในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านการจัดการในห้องสอบ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการใช้เหตุผล 3.แนวทางในการป้องกันการทุจริตในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเขต กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ประกาศบทลงโทษอย่างชัดเจนและนำไปปฏิบัติจริง ดำเนินการคุมสอบอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจน และปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียน
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to survey the cheating methods on examination of upper secondary school students in Bangkok. 2) to develop of a causal model of cheating on examination of upper secondary school students in Bangkok, and 3) to study of guidelines for prevention about cheating on examination of upper secondary school students in Bangkok. The research samples consisted of 540 upper secondary school students in Bangkok. Variables consisted of six latent variables; cheating on examination, background factor, moral factor, manage in-class examination, reason factor and motivation factor. These latent variables were measured by eleven observed variables. The research data were collected by questionnaires and analyzed by employing descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient, LISREL analysis and content analysis. The research finding were as follows: 1. The upper secondary school students in Bangkok’s cheating methods on examination were study a psychological profile of their teacher for benefit about cheating on examination, allows his/her friend to be copy answer sheets and size up a characteristic of their teacher to planning about cheating on examination. 2. The causal model of cheating on examination of upper secondary school students in Bangkok was valid and fit to the empirical data. (Chi-square=33.48; df=26; p=0.15; GFI=0.989; AGFI=0.972 and RMR=0.02). The causal model consisted of variable having direct effect. Among these variables, manage in-class examination factor had the highest direct effect to the upper secondary school students in Bangkok’s cheating on examination. 3. The guidelines to prevent the examination cheating of upper secondary school students in Bangkok , consisted of the notification of penalty and the actual enforcement, strict and efficient test administration, stipulation of clear learning objects and goals and instill the royalty to students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15884
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.506
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.506
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranut_ng.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.