Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17137
Title: | นโยบายการจัดการพลังงานไทย : ศึกษาในบริบทความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน |
Other Titles: | Thailand's energy management policy in the context of Thailand's relations with its immediate neighbours |
Authors: | อักษราภัค ชัยปะละ |
Advisors: | ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พลังงาน--ไทย พลังงาน--นโยบายของรัฐ ไทย--ความร่วมมือระหว่างประเทศ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษานโยบายพลังงานของไทยในบริบทความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ปรากฏทั้งในรูปของความขัดแย้งและความร่วมมือ โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ตามแนวทางความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non Traditional Security) ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็นเกิดภาวะความลักลั่นสูง เนื่องจากปัจจัยเชิงลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ การปักปันเขตแดน การเมืองภายในและระหว่างประเทศ แต่เมื่อสถานการณ์เหล่านี้ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ไทยและเพื่อนบ้านหันมามีความสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบต่างๆมากขึ้น หลังยุคสงครามเย็นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ประเด็นเรื่องพลังงานจัดเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ซึ่งบั่นทอนความมั่นคงของรัฐทั่วโลก ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ส่วนหนึ่งคือ จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างความร่วมมือทางพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่ส่งออกพลังงานตลอดจนประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับประเทศไทยนั้น วิกฤตทางพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันหลายครั้งที่ผ่านมา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผสานกับปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศ ได้ผลักดันให้ไทยจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบต่างๆ อันได้แก่ การซื้อขายพลังงาน และความร่วมมือแก้ไขข้อพิพาทแหล่งทรัพยากรทางพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน อันได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถึงค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยและประเทศเพื่อนบ้านสามารถบรรลุข้อตกลงความร่วมมือทางพลังงานได้หลายกรณี ซึ่งมีระดับความสำเร็จมากน้อยต่างกันไป |
Other Abstract: | This study aims at exploring Thailand’s energy management policy in the context of Thailand’s relations with its immediate neighbours, which appear in both conflict and co-operation. The thesis deploys frame of analyst according to Non Traditional Security. The results reveal that the relationships among neighboring countries, especially during Cold War, are highly unsystematic because of negative factors: communist threats, demarcations, and internal and international politics. When Cold War terminated, the situation got better and there was a chance for Thailand and those countries to create more graceful relationship among each other. Since Post Cold War up until now, energy issue can be classified as a new form of threat that undermined state stability all over the world. Therefore, co-operation in terms of energy, particularly with energy exporting countries and also with neighbouring countries, could be seen as part of solution. As for Thailand, several oil energy crisis, economy growth plus international politic factors forced Thailand to create policy in the use of co-operation such as energy trading co-operation to solve energy resource disputes with them. The disputes include natural gas and hydropower issues, particularly between the decades of 1990 to 2006. It was the moment that Thailand and its neighboring countries could reach considerable mutual agreements of energy co-operation which the levels of success are various |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17137 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.732 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.732 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aksaraphak_ch.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.