Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1734
Title: การศึกษาศักยภาพของแหล่งน้ำคุณภาพน้ำและการจัดสรรการใช้น้ำของจังหวัดระยอง (ในฤดูแล้ง) : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: A study on water supply potential, water quality and water utilization of Rayong province (in dry season)
Authors: ธเรศ ศรีสถิตย์
สุรภี โรจน์อารยานนท์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
Subjects: แหล่งน้ำ--ไทย--ระยอง
คุณภาพน้ำ--ไทย--ระยอง
การจัดการน้ำ--ไทย--ระยอง
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ ได้แบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ การศึกษาด้านแหล่งน้ำ คุณภาพน้ำและการจัดสรรการใช้น้ำของจังหวัดระยอง โดยเฉพาะในฤดูแล้งพบว่าแหล่งน้ำในจังหวัดระยองมีมากพอประมาณ ส่วนใหญ่เป็นลำธารสายสั้นๆ ที่เกิดจากเทือกเขาทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงทะเลทางตอนใต้ แม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแส อยู่ในคนละลุ่มน้ำ มีโอกาสในการพัฒนาให้เป็นอ่างเก็บน้ำได้สูง และปัจจุบันนี้กำลังอยู่ในแผนพัฒนาหลายโครงการแหล่งน้ำที่ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยคือ น้ำฝน และบ่อน้ำตื้น โดยเฉพาะบ่อน้ำตื้นเมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในบ่อจะแห้งขอด เกิดปัญหาการขาดแคลนมาก โดยเฉพาะในทางตอนเหนือของจังหวัด สำหรับทางตอนใต้มีปัญหาน้ำกระด้าง และอิทธิพลจากน้ำเค็ม คุณภาพน้ำทั่วๆ ไปอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีบางแห่งที่บ่อน้ำตื้นมีสารโลหะหนักบางชนิด เช่น แมงกานีส (Mn) เจือปน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่ใช้น้ำบริโภค เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว การอุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้อาศัยน้ำแบบพึ่งตนเอง เพราะกิจการไม่ใหญ่มากถ้ามีการพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกโครงการอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดระยอง ซึ่งมีความต้องการน้ำมากประมาณ 63-72 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในระยะแรกอาศัยน้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำหนองค้อ ซึ่งคาดว่าจะเกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ จากนั้นอาศัยน้ำจากอ่าง เก็บน้ำหนองปลาไหลและอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ซึ่งมั่นใจว่าเมื่ออ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2530 ปัญหาการขาดแคลนน้ำจะไม่เกิดขึ้น
Other Abstract: This research is devided into three parts, the study of water resources, water quality and water utilization of Changwat Rayong during the dry season. It is found that there are many water resources available in Rayong. Most of them are streams which come from the northern part of Rayong flowing towards the sea in the southern. Rayong River and Pra-sae River are two main rivers in Rayong and have adjoining basins. There is high potential of developing reservoir system from the two rivers nowaaday many projects are in the planning stage of water resource development. Most of the people in rural area use rain water and water from dug wells for consumption and domesric uses. But in the dry season they are mostly dried up. In the northern part of Rayong shortage of water occurs during the dry season while the salinity intrusion and hardness of water are the main problems in the southern. Generally, water quality is quite good, but in some part of Rayong, there are some heavy metals such as manganese (Mn) in water from dug wells, which are toxic for drinking. Most of water resources for the cultivation is rainfall. Water resources for small industries are provided by the owners themselves. In case of the Eastern Seaboard Development, industrial projects require more fresh water about 63-72 MCM per year from Dok Krai Reservoir and the Nong Kho Reservoir. In the first part of the development, there is some trend of fresh water shortage. Supplementary water will have to be drawn Nong Pla Lai Reservoir and Klong Yai Reservoir. It is believed that the Nong Pla Lai Project will be helpful to solve the problem of shortage of fresh water in these areas.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1734
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thares(rayong).pdf24.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.