Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17759
Title: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: The academic administrative tasks of municipal elementary schools in the Southern Region of Thailand
Authors: แนม ชินพงศ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
กรรณิการ์ สัจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
การบริหารงานวิชาการ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ 2. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ 3. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบการบริหารงานวิชาการและปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารในโรงเรียน ผู้บริหารนอกโรงเรียน นักวิชาการในโรงเรียน และนักวิชาการนอกโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ จำนวน 48 โรงเรียน ใน 14 เทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในท้องที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส จำแนกเป็นผู้บริหารในโรงเรียน 85 คน ผู้บริหารนอกโรงเรียน 21 คน นักวิชาการในโรงเรียน 261 คน และนักวิชาการนอกโรงเรียน 24 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นเป็นแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด โดยถามเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงานวิชาการและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ งานวิชาการในการวิจัยครั้งนี้ ครอบคลุมงานวิชาการด้านต่าง ๆ คือ กระบวนการบริหารงานวิชาการ หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การสอน สื่อการเรียนและห้องสมุด กิจกรรมนักเรียน การวัดผลและประเมินผลการศึกษา และการนิเทศการศึกษา วิธีวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้มีการแบ่งสายงานบริหารออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการและฝ่ายปกครอง แต่ในบางโรงเรียนได้เพิ่มฝ่ายกิจกรรมนักเรียนขึ้นอีกหนึ่งฝ่ายและในบรรดาตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายต่าง ๆ นั้น ตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายธุรการมีมากกว่าจำนวนผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งงานรับผิดชอบเป็นครูทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการ (หัวหน้าฝ่าย) และในบางโรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ เพื่อบริหารงานวิชาการร่วมกับฝ่ายบริหารของโรงเรียน 2. การปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ด้านต่าง ๆ ปรากฏว่า งานด้านกิจกรรมนักเรียนและงานด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษาโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ และการสอนโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในระดับค่อนข้างมาก งานด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ สื่อการเรียนและห้องสมุด โรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ส่วนงานด้านการนิเทศการศึกษานั้นโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย 3. เกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดภาคใต้ ปรากฏว่า กระบวนการบริหารงานวิชาการเป็นปัญหาอยู่ในระดับมาก หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ สื่อการเรียนและห้องสมุดเป็นปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ส่วนกิจกรรมนักเรียน การวัดผลและประเมินผลการศึกษา และการนิเทศการศึกษาเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย
Other Abstract: Purposes of the study : 1. To study the academic administrative tasks structure of the municipal elementary schools in the southern region. 2. To study the academic administrative tasks of the municipal elementary schools in the southern region. 3. To study the problems and obstacles concerning the structure and tasks of the academic administration in the municipal elementary schools in the southern region. Procedures : Samples of this study were composed of administrators within school, administrators outside school, academic persons within school and academic persons outside school in 48 municipal elementary schools of 14 urban municipals located within 14 cities in the southern region. These cities included Chumphorn, Suratthani, Nakornseethumrat, Songkhla, Pattalung, Ranong, Krabi, Panggha, Phuket, Trang, Stoon, Yala, Pattani and Naratiwat. The samples were divided into 4 groups; 85 adiministrators within school, 21 administrators outside school, 261 academic persons within school and 24 academic persons outside school, totaling 391 in number. Tool used in this research was the questionnaire which composed of 3 parts; check list, rating scale, and open-end. These questionnaires were constructed in order to gather information concerning the academic administrative tasks structure, academic administrative tasks, and problems and obstacles concerning the structure and tasks of the academic administration in municipal elementary schools in the southern region. The academic administrative tasks included curriculum and curriculum administration, instruction, instructional materials and library, student activities, evaluation, and supervision. In analyzing data, percentage, arithmetic mean, and standard deviation were used. Finding: 1. The structure of the administrative tasks in municipal elementary schools in the southern region were divided into 3 areas: academic, business management, and student discipline. However, in some schools, they were divided into 4 areas: academic, business management, student discipline, and student activities. Among the principle assistant positions, the assistant in charge of the business management was appointed in most school. Furthermore, with respect to the academic administration, the academic division. In some schools, teachers and administrators were appointed to work together. 2. Concerning the tasks of academic administration of the elementary schools in the southern region, the student activities and the evaluation were seem to be higher degree of performance. In overall performance the academic administration of the elementary schools in the southern region was seem to be the less degree of performance. 3. With regard to problems and obstacles concerning the academic administration in the elementary schools in the southern region. The task which classified to be more problems was the administration itself. The tasks which classified to be almost more problems were curriculum and curriculum administration, instructional materials and library. The instruction, student activities, evaluation, and supervision were classified to be less problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17759
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nam_Ch_front.pdf620.56 kBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_ch1.pdf712.39 kBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_ch2.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_ch3.pdf463.95 kBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_ch4.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_ch5.pdf754.49 kBAdobe PDFView/Open
Nam_Ch_back.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.