Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17827
Title: | ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา และหลังกำหนดเวลาของหลักสูตร ของครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Variables related to graduation within-due-time and after-due-time of master of education graduates, Chulalongkorn University |
Authors: | นันทนา รัตนอาภา |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- หลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- บัณฑิต การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- การวัดผล |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มุ่งที่จะศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลาและหลังกำหนดเวลาของหลักสูตร ของครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างประชากร ประกอบด้วยนิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2516-2520 จำนวน 242 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ การทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square Test) มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์แบบจำแนกประเภท (Discriminant Analysis) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ตลอดจนการคำนวณหาค่าเรโชประสิทธิภาพทางการศึกษา ผลการวิจับพบว่า 1. เพศ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร อายุ สถานภาพการทำงาน ประเภทของหน่วยงาน ลักษณะของหน่วยงาน ระยะเวลาที่ทำงานก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท และจำนวนครั้งที่สมัครสอบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท แต่ละตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสำเร็จการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ 2. เมื่อพิจารณารวมทุกภาควิชา พบว่า ส่วนใหญ่นิสิตทั้งกลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดและหลังกำหนดเวลาต่างก็ใช้เวลาในการศึกษาเนื้อหาวิชาเท่ากับ 3 ภาค ส่วนเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์นั้น พบว่า นิสิตกลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดเวลาส่วนใหญ่ทำวิทยานิพนธ์เสร็จภายใน 6 เดือน ในขณะที่นิสิตกลุ่มที่สำเร็จหลังกำหนดเวลา ใช้เวลาตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป 3. เกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสำเร็จการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกภาควิชาและโดยส่วนรวม แต่พบว่า เกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทระหว่างกลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดเวลาและกลุ่มที่สำเร็จหลังกำหนดเวลา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญในบางภาควิชา ได้แก่ภาควิชาบริหารการศึกษา และภาควิชาพลศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการสอบวิทยานิพนธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสำเร็จการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นภาควิชาโสตทัศนศึกษา เมื่อทำการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยในบางภาควิชา ได้แก่ ภาควิชามัธยมศึกษา ภาควิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาพลศึกษา และภาควิชาพยาบาลศึกษา 4. ลักษณะการมาศึกษาในระดับปริญญาโท มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสำเร็จการศึกษาของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) ในทุกภาควิชา ยกเว้นภาควิชาโสตทัศนศึกษา กล่าวคือ นิสิตกลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดเวลาส่วนใหญ่ลาศึกษาต่อจนทำวิทยานิพนธ์เสร็จหรือจนสำเร็จการศึกษา ในขณะที่กลุ่มที่สำเร็จหลังกำหนดเวลามาเรียนในขณะที่ยังทำงานอยู่โดยไม่ได้ลาศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาและ/หรือลามาศึกษาเฉพาะระหว่างเวลาที่เรียนรายวิชาครบหมดแล้วเท่านั้นและกลับไปทำงานในระหว่างที่ทำวิทยานิพนธ์ 5. จำนวนบุตร อายุ จำนวนครั้งที่สมัครสอบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท และระยะเวลาที่ทำงานก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท เมื่อนำมาพิจารณาพร้อม ๆ กัน พบว่า เป็นตัวแปรที่ไม่สามารถนำมาจำแนกกลุ่มของครุศาสตรมหาบัณฑิตระหว่างกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลาและหลังกำหนดเวลาออกจากกันได้อย่างมีนัยสำคัญ (P > .05) 6. โดยส่วนรวม พบว่า นิสิตกลุ่มที่สำเร็จหลังกำหนดเวลามีปัญหาส่วนตัวมากกว่ากลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดเวลาอย่างมีนัยสำคัญ ในหมวดปัญหาด้านการปรับตัวด้านการเรียน (P < .05) ซึ่งเมื่อพิจารณาจำแนกตามภาควิชา พบว่า ในภาควิชามัธยมศึกษา นิสิตกลุ่มที่สำเร็จหลังกำหนดเวลามีปัญหาส่วนตัวมากกว่ากลุ่มที่สำเร็จตามกำหนดเวลาอย่างมีนัยสำคัญ ในหมวดปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองและหมวดปัญหาด้านการปรับตัวด้านการเรียน (P < .05) 7. นิสิตในภาควิชาโสตทัศนศึกษา มีค่าเรโชประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงสุด รองลงมาคือภาควิชาประถมศึกษา สำหรับภาควิชาที่มีค่าเรโชประสิทธิภาพต่ำสุด คือ ภาควิชาพยาบาลศึกษา และภาควิชามัธยมศึกษา ซึ่งเมื่อพิจารณาจำแนกตามปีการศึกษาแล้ว พบว่า นิสิตที่เข้าศึกษารุ่นปีการศึกษา 2520 มีค่าเรโชประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมาคือปีการศึกษา 2519 |
Other Abstract: | The purpose of this research is to investigate the variables that related to graduation within-due-time and after-due-time of master of education graduates, Chulalongkorn University. The samples consisted of 242 graduated students, who enrolled during the academic year of 2516-2520 in the degree of master of education, Chulalongkorn University. There were 146 persons who graduated within-due-time and 96 persons who graduated after-due-time. The data were collected from the registration of the Graduate School, Chulalongkorn University and by mail questionnaire. The obtained data were analyzed by means of percentage, Chi-Square, Arithmetic Means, Standard Deviation, t-test, Discriminant Analysis, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and to calculate the educational efficiency ratio. Major finding were as follow. 1. Sex, marital status, number of children, age, working status kind of institution, level of institution, period of time in working and the number of passing entrance examination in the master degree level each of them has no significantly relationship with the educational attainment of the sample. 2. In general, most of graduated students enrolled studying course work for 3 semesters. Graduated students who graduated within-due-time had finished their thesis in 6 months, but those who graduated after-due-time had finished more than 6 months. 3. There were no significantly relationship between grade point average at the Bachelor Degree Level and educational attainment (P > .05). There were significantly relationship between grade point average in the Master Degree Level and educational attainment in the Department of Educational Administration, The Department of Audio-Visual Education and the Department of Physical Education. There were significantly relationship between grade point average in the Bachelor Degree Level and grade point average in the Master Degree Level in the Department of Secondary Education, Educational Research, Physical Education and the Department of Nursing Education. 4. The attendance condition of the graduated students in each department except the Department of Audio-Visual Education were significantly related with their educational attainment at the .05 level. It was apparently indicated by the data that most of the students who graduated within-due-time were the full time students, while those who graduated after-due-time only came to study during the time they were required to finish their course work and writing thesis at the same time. 5. Number of children, age, the number of passing entrance examination in the Master Degree Level, grade point average at the Bachelor Degree Level, grade point average at the Master Degree Level and period of time in working of the graduates in every department were not the variables that can separated the graduated students who graduated within-due-time and after-due-time groups significantly (P > .05). 6. In general, graduated students who graduated after-due-time have more problems than those who graduated within-due-time in academic adaptation. In the department of the Secondary Education, graduated students who graduated after-due-time have more problem than those who graduated within-due-time in emotions and self-concept and academic adaptation (P < .05). 7. The Department of Audio-Visual Education had the highest educational efficiency ratio, the second was the Department of Elementary Education. Graduated students who enrolled in the academic year of 2520 had the highest educational efficiency ratio, the second is 2519. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17827 |
ISBN: | 9745622788 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nantana_Ra_front.pdf | 503.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_ch1.pdf | 469.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_ch2.pdf | 912.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_ch3.pdf | 458.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_ch4.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_ch5.pdf | 503.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantana_Ra_back.pdf | 658.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.