Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18494
Title: | การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา |
Other Titles: | A follow-up study of the Thai Red Cross College of Nursing Graduates' performance as perceived by themselves and their immediate supervisors |
Authors: | วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล |
Advisors: | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พยาบาล การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน บัณฑิต |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยตามการรับรู้ของตนเองและผู้บังคับบัญชา ในเรื่องความรู้ความสามารถทางวิชาการ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมนุษยสัมพันธ์และค่านิยมทางวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ พยาบาลศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2524 และ 2525 จำนวน 148 คนและผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตจำนวน 180 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และแบบวัดค่านิยมทางวิชาชีพของ นิภา คิดประเสริฐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บังคับบัญชาประเมินว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดี และบัณฑิตประเมินตนเองว่ามีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยส่วนรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่ามัชฌิมเลขคณิตความรู้ความสามารถทางวิชาการในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยบัณฑิตประเมินตนเองต่ำกว่าการประเมินของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญ 2. ผู้บังคับบัญชาประเมินว่าบัณฑิตมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดี และบัณฑิตประเมินตนเองว่ามีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่ามัชฌิมเลขคณิตประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยบัณฑิตประเมินตนเองต่ำกว่าการประเมินของผู้บังคับบัญชาอย่างมีนัยสำคัญ 3. ผู้บังคับบัญชาและบัณฑิตประเมินว่าบัณฑิตมีมนุษยสัมพันธ์โดยส่วนรวมอยู่ในระดับดีค่ามัชฌิมเลขคณิตมนุษยสัมพันธ์ในทัศนะของบัณฑิตและผู้บังคับบัญชาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. บัณฑิตมีค่านิยมวิชาชีพโดยส่วนรวมในระดับสูง 5. บัณฑิตมีความเห็นว่า เนื้อหาวิชาและจำนวนหน่วยกิจของวิชาในหมวดวิชาชีพมีความเหมาะสม ยกเว้น วิชาพัฒนาการพยาบาลและหลักการกาชาด 6. บัณฑิตมีความเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรในเรื่องต่างๆ มีความเหมาะสมดีแล้ว ยกเว้นในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติ 7. บัณฑิตมีความเห็นว่าได้รับความรู้และนำความรู้จากวิชาต่างๆ ในหมวดวิชาชีพส่วนใหญ่ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้มาก 8. ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและให้บริการแก่ ผู้ป่วยเป็นอย่างดีมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และการทำงาน เป็นผู้มีใจรักมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาลและมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ |
Other Abstract: | The main purpose of this research was to conduct follow-up study on the performance of the thai Red cross college of Nursing graduates as perceived by themselves and their immediate supervisors. Research population consisted of 148 graduates who completed the program from academic years 1981-1982 and 180 their immediate supervisors. Data were collected by using questionnaires which developed by the researcher and professional value scale which developed by Nipa - Kidprasert. Statistical procedure used to analyse data were arithmetic means, standard deviation and t-test. The major finding were. 1. The knowledge and academic ability as perceived by the graduates and their supervisors were fair and good, respectively. The arethmatic mean of their supervisors' perception concerning the knowledge and academic ability of the graduates was significantly higher than the mean of the graduates' perception. 2. The efficiency in practice as perceived by the graduates and their supervisors were fair and good. The arithmetic mean of their supervisors' perception concerning the efficiency in practice of the graduates was significantly higher than the mean of graduates' perception. 3. The human relation as perceived by the graduates and their supervisors were good and there was no significant difference between arithmatic means of the human relation in the two groups. 4. The graduates' professional value was in the high level. 5. The graduates agreed that the content and the number of credits of professional subjects were appropiated, except the subject of Nursing Development and Principle of the Red Cross. 6. The graduates agreed that the teaching-learning process and the administration of curriculum were appropiated, except the promotions of students' activities, the relationship between teachers and students, and the period of practice. 7. The graduates rated at the high level for the part of knowledge and their application. 8. Supervisors required the graduates with knowledge and academic ability, the ability to practice effectively, good human relationship, honesty, love and good attitude for nursing profession and the love for mankind. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18494 |
ISBN: | 9745636347 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Warinee_Ie_front.pdf | 320.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_ch1.pdf | 300.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_ch2.pdf | 897.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_ch3.pdf | 360.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_ch4.pdf | 711.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_ch5.pdf | 385.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Warinee_Ie_back.pdf | 490.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.