Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.advisorเทียมจันทร์ สุนทรารชุน-
dc.contributor.advisorบุรินทร์ อาวพิทยา-
dc.contributor.authorสุชีรา ลีโทชวลิต, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-22T01:01:35Z-
dc.date.available2006-08-22T01:01:35Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741759045-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2086-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินโดยเปรียบเทียบผลการประเมินการใช้สารละลายแอลบูมินเชิงคุณภาพและเชิงประมาณ ช่วยก่อนและหลังการประกาศใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมิน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองชนิดวัดผลก่อน-หลังการประกาศใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินแบบไม่มีกลุ่มควบคุม โดยสุ่มตัวอย่างการใช้สารละลายแอลบุมิน ในผู้ป่วยในอย่างมีระบบช่วงละ 140 ครั้ง เก็บข้อมูลช่วงแรก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2546 และช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 มีนาคม 2547 ยุทธวิธีในการประกาศใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินได้แก่การส่งเสริมความรู้ ให้ข้อมูลสารละลายแอลบูมินผ่านการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารละลายแอลบูมิน จดหมาย โปสเตอร์ ดำเนินการเก็บข้อมูลและประเมินตัวอย่างการใช้สารละลายแอลบูมิน ตามหลักการประเมินการใช้ยา ด้วยตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินการใช้สารละลายแอลบูมินในแง่ความถูกต้อง ปลอดภัยและเหมาะสมตามเกณฑ์ ผลการศึกษา: การใช้สารละลายแอลบูมิน พบได้ในผู้ป่วยทุกวัย และมากกว่าร้อยละ 70 เป็นการใช้ระหว่างการผ่าตัดเปิดหัวใจซึ่งเป็นการใช้ที่ถูกต้อง ปลอดภัยและเหมาะสมตามที่ระบุไว้ในแนวทางการใช้สารละลายแอลบูมิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาผลของการประกาศใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินเฉพาะในส่วนที่นอกเหนือจากการใช้ระหว่างการผ่าตัดเปิดหัวใจ พบว่าช่วงที่ 2 ภายหลังการประกาศใช้แนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินมีการใช้สารละลายแอลบูมินอย่างถูกต้องตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.73 เป็นร้อยละ 55.17 มีความปลอดภัยตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 77.27 เป็นร้อยละ 100 และมีความเหมาะสมตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22.97 เป็นร้อยละ 55.17 เมื่อพิจารณาในเชิงปริมาณพบว่าช่วงแรกมีการใช้ในปริมาณ 4,250 กรัม เป็นการใช้อย่างไม่เหมาะสมตามเกณฑ์จำนวน 1,850 กรัม หากช่วงที่ 2 มีการใช้ที่เท่ากันจะพบว่ามีการใช้อย่างไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ลดลงเหลือ 1,162.50 กรัม ส่งผลให้มูลค่าการใช้อย่างไม่เหมาะสมในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาลดลงจาก 142,524 บาทเป็น 89,559 บาท สรุปผลการศึกษา: การส่งเสริมการใช้สารละลายแอลบูมิน ในผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิถี ด้วยแนวทางการใช้สารละลายแอลบูมิน มีผลทำให้มีการใช้สารละลายแอลบูมินอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นen
dc.description.abstractalternativeObjective: To evaluate the effect of Albumin use guideline (AUG) by comparing the qualitative and quantitative albumin solution usage during the periods of pre- and post- implementation of the guideline. Method: The study of albumin usage before-after implementation using albumin use guideline without controlled group was divided into 2 phases. The first phase was processed during 1st August 31st October 2003. The second phase was processed during 1st January 15th March 2004. In each phase, 140 samples of were collected by using systemic random sampling method. The intervention was conducted by means of educational strategies consisting of training, and dissemination of guidelines and posters about appropriate albumin usage. Data were collected and evaluated, as correctly, safely and appropriate use, by using drug use evaluation{7f2019}s theory with the indicators of this study. Result: Albumin usages were found in all of ages. More than 70 percent of the samples were used during opened heart surgeries which were correct, safe and appropriate uses. The albumin usage excluding during opened heart surgeries, after albumin use guideline was intervened, was found that the correct uses were increased from 29.73% to 55.17%, the safe uses were increased from 77.27% to 100% and the appropriate uses were increased from 22.97% to 55.17%. During the first phase, the amount of albumin usage was 4,250 grams. Of that amount, 1,850 grams were not used appropriately, according to the guideline. The amount was decreased to 1,162.50 grams in the second phase. As a result, the expenditure of the inappropriate use of albumin among studying sample was lower from 142,524 Baht to 89,559 Baht. Conclusion: This study showed that promoting of albumin use guideline in inpatient at Rajavithi hospital helped increasing the appropriate albumin usage.en
dc.format.extent1069035 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอัลบูมินen
dc.titleการปฏิบัติการตามแนวทางการใช้สารละลายแอลบูมินในผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลราชวิถีen
dc.title.alternativeImplementation of albumin use guideline in inpatient at Rajavithi Hospitalen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sucheera.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.