Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21516
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำ ของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลกับบรรยากาศองค์การ ในสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | Relationship between opinions concerning leadership behaviors of the nursing administrators and organization climate of The Nursing College Division, Ministry of Public Health |
Authors: | พูนทรัพย์ ดีมาก |
Advisors: | สมคิด รักษาสัตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ผู้นำ สภาพแวดล้อมการทำงาน ผู้บริหาร Leadership Work environment |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล และความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การของวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวพฤติกรรมผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลกับบรรยากาศองศ์การและแบบบรรยากาศองศ์การ ในสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นอาจารย์พยาบาลจำนวน 192 คน ที่ทำการสอนอยู่ในวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 10 แห่ง ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำที่ปรับปรุงจากแบบสอบถาม LBDQ (Leader Behavior Description Questionnaire)ของแอนดรู ฮาลปิน (Andrew W. Halpin)และ แบบสอบถามวัดบรรยากาศองค์การที่ปรับปรุงจากแบบสอบถาม OCDQ (Organization Climate Description Questionnaire) ของฮาลปินและครอฟท์ (Halpin &Croft) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการทางสถิติหลายวิธี ได้แก่ หาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนมาตรฐาน ที และค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลโดยส่วนรวมมีพฤติกรรมผู้นำทั้ง 2 มิติ คือ มิติกิจสัมพันธ์และมิติสัมพันธภาพ อยู่ในระดับปานกลาง จึงไม่รับสมมุติฐานที่ว่า “ ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลมีพฤติกรรมผู้นำทั้งมิติกิจสัมพันธ์และมิติสัมพันธภาพอยู่ในระดับสูง” 2. บรรยากาศองค์การของวิทยาลัยพยาบาลโดยส่วนรวมมีแนวโน้มเป็นแบบแจ่มใสจึงไม่รับสมมุติฐานที่ว่า “บรรยากาศองค์การของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาลเป็นแบบอิสระ” 3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ มิติกิจสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ 8 มิติพบว่า พฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับบรรยากาศองค์การมิติขาดความสามัคคี มิติอุปสรรค และมิติห่างเหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์การมิติขวัญ มิติมุ่งผลงาน มิติเป็นแบบอย่าง และมิติกรุณาปราณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์การมิติมิตรสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงคงไว้ซึ่งสมมุติฐานที่ว่า “พฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ 8 มิติ” 4. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ มิติสัมพันธภาพกับบรรยากาศองค์การ 8 มิติ พบว่า พฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับบรรยากาศองค์การมิติขาดความสามัคคี มิติอุปสรรค และมิติห่างเหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบรรยากาศองค์การมิติขวัญ มิติเป็นแบบอย่าง และมิติกรุณาปราณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงคงไว้ซึ่งสมมุติฐานที่วา “พฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การมิติขาดความสามัคคี มิติอุปสรรค มิติขวัญ มิติห่างเหิน มิติเป็นแบบอย่างและมิติกรุณาปราณี” ส่วนบรรยากาศองค์การมิติมิตรสัมพันธ์ และมิติมุ่งผลงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพ จึงไม่รับสมมุติฐานที่ว่า “พฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การมิติมิตรสัมพันธ์ และมิติมุ่งผลงาน” 5. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับแบบบรรยากาศองค์การ พบว่าพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารมิติกิจสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบบรรยากาศองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงคงไว้ซึ่งสมมุติฐานที่ว่า “พฤติกรรมผู้นำมิติกิจสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับแบบบรรยากาศองค์การ” ส่วนพฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพไม่มีความสัมพันธ์กับแบบบรรยากาศองค์การ ผลการวิจัยจึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ว่า “พฤติกรรมผู้นำมิติสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับแบบบรรยากาศองค์การ” |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the opions concerning leadership behaviors of the nursing administrators and the organization climate of the nursing college division, Ministry of public Health. The research also covered the studies of the relationship between the opions concerning leadership behaviors of the nursing administrators and the organization climate types of the nursing college division, Ministry of Public Health. The selected samples were one hundred and ninety two nursing instructors from ten nursing colleges under the auspices of the nursing college division, Ministry of Public Health in Thailand. The research instruments were two sets of questionnaires. One set of the Questionnaires was modified from the LBDQ(Leader Behavior Description Questionnaire) by Andrew W. Halpin, and the other was modified from the OCDQ (Organization Climate Description Questionnaire) by Halpin & Croft. The analysis of the data was based on various statistical methods namely the mean, the standard diviation, the standard T – Score. the Pearson product – moment coefficient and the Spearman rank method. The Majors Findings: 1. The leadership behaviors, both the initiating structure and the consideration behavior of the nursing administrators were generally at the medium level. Therefore the hypothesis was not accepted. 2. The organization climate of the nursing college division, Ministry of Public Health was the “Open” type. Therefore the hypothesis was not accepted. 3. There was negative relationship between the initiating structure and the disengagement, the hindrance, and the aloofness at the .01 statistical significant level. However, there was positive relationship between the initiating structure and the esprit, the product emphasis, the thrust, and the consideration at the .01 statistical significant level and at the .05 statistical significant level with only the intimacy. Therefore the hypothesis was remained. 4. There was negative relationship between the consideration behavior and the disengagement, the hindrance, and the aloofness at the .01 statistical significant level. However, there was positive relationship between the consideration behavior and the esprit, the thrust, and the consideration at the .01 statistical significant level. Therefore the hypothesis was remained. It also revealed that the relationship between the consideration behavior and the intimacy, and the product emphasis were not existed. Therefore the hypothesis was not accepted. 5. There was positive relationship between the initiating structure of the nursing administrators and the six organization climate types at the .05 statistical significant level. Therefore the hypothesis was remained. It also revealed that the relationship between the consideration behavior and the six organization climate types was not existed. Therefore the hypothesis was not accepted. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21516 |
ISBN: | 9745631302 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poonsab_De_front.pdf | 624.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_ch1.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_ch2.pdf | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_ch3.pdf | 657.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_ch4.pdf | 598.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_ch5.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsab_De_back.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.