Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22929
Title: การศึกษาการดำเนินงานทางวิชาการ ในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดกรมอาชีวศึกษา
Other Titles: A study of the operation of academic tasks in royal awarded institutions under the jurisdiction of the Department of Vocational Education
Authors: เกสิณี ชิวปรีชา
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการ
การศึกษาทางอาชีพ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานทางวิชาการในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดกรมอาชีวศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบวิเคราะห์เอกสาร ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าคณะวิชาหรือแผนกวิชา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สถานศึกษามีการดำเนินงานทางวิชาการ ดังนี้ 1) การบริหารงานวิชาการให้สอดคล้องกับหลักการและจุดหมายของหลักสูตร มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานทางวิชาการ ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติงานวิชาการ และปฏิทินปฏิบัติงานวิชาการ มีการติดตามผลการปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติรายงานตามสายการบังคับบัญชา และผู้บริหารตรวจเยี่ยมด้วยตนเอง 2) การจัดบุคลากรตรงตามหน้าที่ จัดตามวุฒิการศึกษา ความสามารถ และประสบการณ์ ประเมินผลจากการรายงานและพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน 3) การพัฒนาบุคลากร มีการจัดนิเทศ อบรม สัมมนา และฝึกปฏิบัติการในสถานศึกษา ส่งเสริมให้อาจารย์ไปศึกษาดูงานหรือศึกษาต่อ 4) การจัดสื่อการเรียนการสอน มีการจัดหา ผลิต และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ 5) การจัดบริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน จัดบริการแนะแนวและห้องสมุด มีอาคารสถานที่เพียงพอ สะอาดร่มรื่นเป็นระเบียบสวยงาม 6) การจัดการเรียนการสอน มีการเตรียมการสอน ส่งผู้เรียนไปศึกษาหรือฝึกงานในสถานประกอบการ ประเมินผลจากการเยี่ยมชั้นเรียนและจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดตามความต้องการของผู้เรียนและความพร้อมของสถานศึกษา และให้ผู้ปฏิบัติรายงานผล 8) การวัดผลและประเมินผล ใช้วิธีการวัดผลหลายๆ วิธีให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด จัดทำสถิติข้อมูล จัดทำคลังข้อสอบ นำผลการวัดผลและประเมินผลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน และวิธีการวัดผลและประเมินผล ปัญหาการดำเนินงานทางวิชาการของสถานศึกษาส่วนใหญ่ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับหลักสูตรได้อย่างเต็มที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ ไม่สามารถจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้หลากหลาย ตามความต้องการของผู้เรียน และขาดบุคลากร
Other Abstract: To study state and problems of the operation of academic tasks in Royal Awarded institution under the jurisdiction of Department of Vocational Education. Population were the school's administrators, academic assistant administrators, and department heads. The research instruments consisted of the semi-structured interview sheets and document analysis sheets, frequency and percentage. Research findings were as follows: The majority of these institutions 1) were academically administered to meet the principles and objectives of the curriculum by which academic policies were set up so as workshops on operational plans were academic action plans and organized, follow-up techniques were reported according to line of command and administrators visits; 2) assigned teacher regarding their educational background and experiences evaluated performance through reports and their performance; 3) developed the teachers capabilities by arranging supervisions, training programs seminar and workshops within institutions and further their studies; 4) provided instructional aids for teachers and encouraged them to produce their own instructional aids and apply new technology in teaching; 5) provided guidance services and library; buildings and plants were kept clean, and pleasent; 6) required teachers to prepare lesson plans also students were required to practice their apprenticeships, instructional achievements were evaluated through classroom visitation and learning achievements; 7) provided extra curricula activities with regard to the learners' needs and the institutions' readiness and followed up the outcome through teachers' reports; 8) encourage teachers to applied different measurement methods according to learning objectives, and their results were used for instructional improvement. Regarding the problems of the operation of academic tasks by most of these institutions were the teachers' performance could not cope up with policies; there were insufficient instructional medias; the extra curricula activities were not met the learners' needs; and finally, there were inadequate amount of teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22929
ISBN: 9746384384
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasinee_Ch_front.pdf805.3 kBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_ch1.pdf745.79 kBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_ch3.pdf705 kBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_ch4.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_ch5.pdf956.24 kBAdobe PDFView/Open
Kasinee_Ch_back.pdf966.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.