Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25382
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของปัญญาในพุทธปรัชญา
Other Titles: An analytical study of the role of wisdom in buddhist philosophy
Authors: ชอุ่ม ทศสิน
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายสูงสุดอันเป็นอุดมการณ์ของพุทธปรัชญาก็คือการเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งได้แก่การบรรลุนิพพาน พุทธปรัชญาสอนว่าการที่บุคคลจะเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงได้จะต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด หลักปฏิบัติ 3 ประการนั้นแม้สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างที่จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ แต่บทบาทของปัญญานับว่าเด่นที่สุด เพราะเมื่อได้พัฒนาให้มีกำลังแก่กล้าจนถึงที่สุดแล้ว จะทำให้เกิดความรู้แจ้งในอริยสัจจธรรมพร้อมกับทำลายกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป การเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ดังกล่าวก็เป็นอันได้บรรลุถึง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ งานวิจัยนี้จึงได้เน้นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ทราบแน่ชัดว่า ปัญญาตามแนวคำสอนของพุทธปรัชญาคืออะไร และมีบทบาทสำคัญอย่างไร จากการศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของปัญญาในพุทธปรัชญา ได้พบสาระที่สำคัญอันสรุปได้คือ 1. ปัญญา หมายถึงความรู้ชัด ความเข้าใจ ความรู้เท่าทันตามเป็นจริง ปัญญาเป็นคำกลางสำหรับความรู้ประเภทนี้ ปัญญามีหลายขั้นหลายระดับ เช่นที่แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา มีคำศัพท์หลายคำที่ใช้ในความหมายจำเพาะหมายถึงปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะคุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น สัมมาทิฏฐิ ญาณ วิชชา วิปัสสนา อภิญญา โพธิ เป็นต้น 2. ปัญญาในพุทธปรัชญามีเป้าหมายสำคัญเพื่อประหารอวิชชาและกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป”, “จิตที่ปัญญาอบรมแล้วย่อมบริสุทธิ์”, “บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” เป็นต้น 3.พุทธปรัชญากล่าวว่าปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือเป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมหรือทำให้เจริญขึ้นได้ ดังนั้นจึงมีบทธรรมที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้มาก เช่น ปัญญาวุฒิธรรม 4 โพธิปักขิยธรรม 37 หรือที่สุดคือหลักไตรสิกขาอันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา 4.ปัญญามีบทบาทต่อศรัทธาเป็นอย่างมาก ศรัทธาในพุทธปรัชญาต้องเป็นศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา เหตุผล ดังที่เรียกว่าสัทธาญาณสัมปยุต หรืออาการวตีศรัทธา ถ้าขาดปัญญาเหตุผลย่อมได้ชื่อว่าความงมงายอันก่อให้เกิดโทษ 5. ผู้มีปัญญา ซึ่งพุทธปรัชญามีคำยกย่องว่าบัณฑิต สัตบุรุษ หรือที่สุดคือพุทธะ ซึ่งแปลว่าผู้รู้ คือรู้ความจริงอันประเสริฐว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์ อะไรเป็นความดับทุกข์ อะไรเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ หรือเป็นการรู้แจ้งประจักษ์ชัดว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นตัวตน พุทธะแปลว่าผู้ตื่น คือตื่นจากกิเลสและอวิชชา พุทธะแปลว่าผู้เบิกบาน คือมีจิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่เศร้าหมองเพราะหมดอาสวกิเลส 6. ในการเข้าถึงอุดมการณ์อันสูงสุดซึ่งได้แก่ความหลุดพ้น จะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวการสำคัญดังที่เรียกว่าวิปัสสนา ดังนั้นพระอรหันต์ทุกองค์จะต้องได้ปัญญาวิมุตติ แม้พระอรหันต์ที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติก็คือพระอรหันต์ที่ได้ทั้งเจโตวิมุตติด้วยจตุถฌาณ และปัญญาวิมุตติประกอบกัน นั่นก็คือการเจริญสมาธิหรือสมถกัมมัฏฐานไม่สามารถยังความสำเร็จให้ได้มรรค ผล นิพพาน แต่ก็ได้ประโยชน์คือทำให้จิตสงบเพื่อเป็นบาทฐานของการเจริญปัญญาหรือวิปัสสนาต่อไป ส่วนวิปัสสนาคือการเจริญปัญญาเพื่อความเห็นแจ้ง เป็นวิธีการเพื่อมรรค ผล นิพพาน โดยตรงและโดยแท้ นั่นก็คือปัญญาเป็นตัวการตัดสินขั้นเด็ดขาดเพื่อความหลุดพ้นตามหลักพุทธปรัชญา ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์ได้วางระบบแห่งการเจริญปัญญาไว้ 7 ขั้น อันได้แก่ สีลวิสุทธิ, จิตตวิสุทธิ, ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรวิสุทธิ, มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ, ญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งทั้ง 7 ขั้นนี้มีชื่อว่าวิสุทธิ 7 ซึ่งขยายความมาจากระบบแห่งไตรสิกขานั่นเอง อนึ่งปัญญาเจริญแก่กล้า ถึงขั้นเห็นอริยมรรคในขั้นใด เช่น โสดาปัตติมรรค ปัญญาระดับนี้จะประหารกิเลสที่ เรียกว่า สังโยชน์เบื้องต้น 3 ได้ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ท่านจะบรรลุผลเป็นพระโสดาบัน หรือถ้าปัญญาแก่กล้าถึงที่สุดจนเกิดอริยมรรคที่ชื่อว่าอรหัตตมรรค จะประหารกิเลสที่เป็นสังโยชน์ทั้ง 10 อย่างได้หมดซึ่งที่สุดคืออวิชชา ท่านจะบรรลุผลเป็นพระอรหันต์อันเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุดแห่งพุทธปรัชญา จึงสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่เคยยกมาแสดงไว้ว่า “เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป” “จิตที่ปัญญาอบรมแล้วย่อมบริสุทธิ์” “บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา”
Other Abstract: The highest goal of the Buddhist doctrine is to arrive at a complete extinction of suffering or NIBBA̅NA. The way leading to the state aimed at is made up of a threefold practice, namely the practice in SI̅LA (Moral Codes of Conduct), SAMA̅DHI (Calm and One pointedness), and PÃÑNA̅ (Wisdom and Insight). This Threefold Path is generally expanded into the so-called Eightfold Path. The various components in the Path are inter-connected. And one component cannot be practised without the other. Nevertheless, the function of Paññā is the most prominent. The most highly developed Paññā does foster the insight into the Four Noble Truths, thus being responsible for destroying the defilements which act as the mother of sufferings. This is the nature of the way to get rid of sufferings. And this research is conducted in order to find out the meanings and functions of Paññā in Buddhist philosophy. The outcome of the research may be summed up as follows: 1. Paññā means to know distinctly, to understand, to have insight. Paññā is a word of general usage. It can be classified into two levels. Paññā refers to Lokiya- Paññā (Wisdom for the Worldly Existence) and Lokuttara- Paññā (Wisdom for Nibbāna). There are many words to distinguish Paññā at the different levels and functions, such as Samma̅adịṭthi (Right Understanding), Ñānṇa (Insight),Vijja̅ (Knowledge), Vipassana̅ (Insight Development), Parinña̅ (Comprehension), Abhiñña̅ (Miraculous powers), Bodhi (Enlightenment), etc. 2. The purpose for developing Paññā is to destroy Ignorance and Defilements, which are the mother of Suffering. Hence there are many of the Buddhist sayings, such as, “With Paññā, there are no more defilements;” “The Citta that is trained by Paññā becames pure;” “A person is flawless because of Paññā." 3. Paññā is that part of nature which one should develop in oneself. Thus, there are many groups of the Buddha's Teachings that emphasize the role of Paññā, such as, Vuḍhidhamma, Bodhipakkhiyadhamma, and ultimately the Threefold path. 4. Paññā is the strengthener of Faith (Saddha̅). In Buddhism, Faith has to be clarified by wisdom and Insight. Without the latter, Faith would be blinded indeed. A person with Paññā is highly esteemed in the Buddhist culture. Generally he may be called “Pandita” or “Sappurisa”. The most highly developed in Paññā is, of course, the Buddha, the word which is translated as "the Enlightened One.” He is enlightened of the meanings of Suffering, of the Causes of Suffering, of the Extinction of Suffering, and of the Path toward such an extinction. He is the one who understands the nature of Change, how Change constitutes Suffering and Selflessness. The word Buddha means “to be awakened from Defilements and Ignorance.” Thus, he is magnificent, clear, and pure. 6. The type of Pañña̅ for an attainment of the highest goal, Nibba̅na, is called Vipassana̅. Each of the enlightened ones must have transcendental knowledge (Pañña̅ Vimutti). Some of them might have trained their Citta to the point of gaining the miraculous powers, yet they have to develop their insight to transcend the mundane as well. In this case, they must have undergone the practice of Samādhi (Calm and One-Pointedness) and Vipassanā (Pure insight), both in a row, since Samādhi is the foundation of Vipassanā. It is the latter that fosters enlightenment of the Four Noble Truths. A teacher who made a commentary (in the Commentary) of the Buddhist Scriptures explained the process for purifying or developing Paññā as consisting of seven steps: Purification of the Moral Conduct, of the Heart, of the Mind, of the Knowledge for transcending Doubts, of the Vision regarding the Path, of the Vision regarding the progress along the Path, and of the Knowledge of the Highest Truth. This purification process is also an enlargement of the Threefold Path as mentioned. The first degree of purification, which is of minimum requirement, is called Sotāpattimagga or the "Path of Stream Entrance." This level of Paññā makes it possible to get rid of three types of Fetters (Saṁyojana): Self-illusion(Sakkāyadiṭṭhi), Doubt (Vicikicchā), and Adherence to Mere Rule and Ritual (Sīlabbataparāmasa). Then the highest level of Paññā is the Path of Arahatship, for the one to become enlightened presently. This type of Paññā is entitled to destroy all of the ten Fetters completely, In short, it is proficient enough to destroy Ignorance. Thus, having attained perfect enlightenment an Arahant becomes a witness to the sayings: “With Paññā, there are no more defilements;” “The Citta that is trained by Paññā becomes pure;” “A person is flawless because of Paññā.”
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25382
ISBN: 9745645117
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cha-oom_Ta_front.pdf501.84 kBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch1.pdf289.19 kBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch4.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_ch6.pdf414.4 kBAdobe PDFView/Open
Cha-oom_Ta_back.pdf268.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.