Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.advisorวัชรี ทรัพย์มี-
dc.contributor.authorจิระสุข สุขสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-11-27T02:47:49Z-
dc.date.available2012-11-27T02:47:49Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26307-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มและความสุข โดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน (2) ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มการเผชิญปัญหา และความสุขในกลุ่มนักศึกษาที่มีปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มแตกต่างกัน และ (3) ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธีประเภท เชิงอธิบายเป็นลำดับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 1,240 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มในระดับสูงและมีความสุขในระดับมาก จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดประสบการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่ม มาตรวัดการเผชิญปัญหามาตรวัดความสุข และแนวคำถามสัมภาษณ์รายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบปรากฎการณ์นิยม ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของการรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มที่ส่งผลต่อความสุขโดยมีการเผชิญปัญหา 3 รูปแบบเป็นตัวแปรส่งผ่าน ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 66 (Chi-square = 0.26, df = 1, p = 0.608, GFI=1.00, AGFI= .99) 2) โมเดลเชิงสาเหตุของการรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มที่ส่งผลต่อความสุขโดยมีการเผชิญปัญหา 3 รูปแบบเป็นตัวแปรส่งผ่าน ในกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มสูงและต่ำ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยในกลุ่มที่มีจำนวนปริมาณเหตุการณ์สูงนั้นตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 69 (Chi-square = 1.290, df = 1, p = 0.260, GFI=1.00, AGFI= .98) และกลุ่มที่มีจำนวนปริมาณเหตุการณ์ต่ำนั้นตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 65 (Chi-square = 0.00, df = 1, p = 0.98, RMSEA = .00) ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนพบว่าปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มเป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงระดับกลุ่มที่ส่งผลต่อความสุขโดยมีการเผชิญปัญหา 3 รูปแบบ เป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบประสบการณ์ด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การรับรู้เหตุการณ์ความไม่สงบ ผลกระทบจากการประสบเหตุ การปรับตัวปรับใจเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่รายล้อม และการเติบโตมีวุฒิภาวะภายหลังประสบเหตุen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research study were to: (1) propose a causal model explaining the relationships among perceived collective violence experience, coping, and happiness in young people living in the Southern border provinces of Thailand, (2) test the model invariance across those with high-and low-violence experiences, (3) explore the experience of collective violence among the students. The sequential explanatory mixed methods design was employed. Participants in quantitative method were 1,240 undergraduate students from the Prince of Songkha University, Pattani campus. Fourteen participants in qualitative method were purposively selected by the set criteria (i.e., high collective violent experiences scale and high happiness scale). Instruments included demographic questionnaire, Happiness Scale, Coping Scale, Collective Violent Experiences Scale, and an interview protocol. Quantitative data were analyzed using Structure Equation Modeling whereas the Phenomenological analysis was selected for qualitative data. Findings were as follows: 1) The causal model of perceived collective violence experience, coping, and happiness best fitted to the empirical data (Chi-square = 0.26; df = 1; p = .608; GFI = 1.00; AGFI = .99; RMR = .00; RMSEA = .00). Of all independent variables affects happiness (p < .01). 2) The causal model of perceived collective violence experience, coping, and happiness for high violence group best fitted to the empirical data (Chi-square = 1.29; df = 1; p = .260; GFI = 1.00; AGFI = .98) and low violence group best fitted to the empirical data (Chi-square = 0.00; df = 1; p = .98). The models of perceived collective violence experience, coping, and happiness for both high-and low-violence groups were significantly different across the groups. 3) Qualitative findings revealed 4 themes of psychological experiences due to insurgency: (1) perceived the unrest situations, (2) impact of collective violence experiences, (3) coping with violence experiences, and (4) attaining growth following the experiences.en
dc.format.extent5382276 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1891-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความสุขในวัยรุ่น -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.subjectเยาวชนกับความรุนแรง -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.subjectการแก้ปัญหาในวัยรุ่น -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.subjectจิตวิทยาวัยรุ่นen
dc.subjectความสุขen
dc.titleความรุนแรงระดับกลุ่มอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ การเผชิญปัญหา และความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย : การวิจัยแบบผสานวิธีen
dc.title.alternativeCollective violence due to insurgency, coping, and happiness of undergraduate students living in the five Southern border provinces of Thailand : a mixed methodsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1891-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirasuk_su.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.