Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27584
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of a learning model using virtual field trips with inquiry learning and critical thinking processes to enhance science learning outcomes of lower secondary students
Authors: แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การศึกษานอกสถานที่
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
กลยุทธ์การเรียนรู้
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การสอนในโรงเรียนมัธยม
การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 104 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์คือ แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสืบค้น แบบวัดความสามารถในการสื่อความหมาย และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบและการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ด้วยทัศนศึกษาเสมือน 2) สื่อทัศนศึกษาเสมือน ได้แก่ วิดีโอคลิป ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สมุดบันทึกออนไลน์ แบบฝึกและกิจกรรม และเกม 3) ผู้เชี่ยวชาญประจำแหล่งเรียนรู้ 4) ระบบจัดการเรียนรู้ทัศนศึกษาเสมือน 5) การประเมินผลการเรียนด้วยทัศนศึกษาเสมือน รูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนฯ แบ่งเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย ระยะที่ 1 ก่อนใช้รูปแบบทัศนศึกษาเสมือน (ระยะเวลา 1 สัปดาห์) ขั้นตอนย่อย คือ กระตุ้นและเร้าความสนใจ การให้สถานการณ์และปัญหา การวินิจฉัยข้อมูล การสำรวจและสืบค้น การอธิบาย และการประเมิน ระยะที่ 2 ระหว่างใช้รูปแบบทัศนศึกษาเสมือน (ระยะเวลา 2 สัปดาห์) ขั้นตอนย่อย คือ การกระตุ้นความสนใจ การสำรวจและสืบค้น การวินิจฉัยข้อมูล การอธิบาย การขยายความรู้ และการประเมินผล ระยะที่ 3 หลังใช้รูปแบบทัศนศึกษาเสมือน (ระยะเวลา 2 สัปดาห์) ขั้นตอนย่อย คือ การกระตุ้นและเร้าความสนใจ การสำรวจและสืบค้น การอธิบาย การลงข้อสรุปแบบอุปนัย/นิรนัย การขยายความรู้ และการประเมินผล 2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบสอบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการทดลองพบว่า หลังการทดลองนักเรียนมีผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รูปแบบการเรียนโดยใช้ทัศนศึกษาเสมือนฯ ที่ได้ ตรวจสอบคุณภาพและรับรองรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนและหลังการทดลอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Other Abstract: The proposes of this research were to develop and to explore the effectiveness of a learning model by using virtual field trips with inquiry learning and critical thinking processes to enhance science learning outcomes of lower secondary students. The instruments used in this research and development to assess science learning outcomes were the test for assessing students’ skills of concept mapping, retrieval information, meaningful communication, and critical thinking. The samples were 104 science teachers and 31 students studied in lower secondary level (grade 8). Data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test dependent. The research results were as follows: 1. A virtual field trips (VFTs) learning model with inquiry learning and critical thinking processes consisted of five components: 1) content and activities, 2) VFTs media (e.g. video clips, pictures, animations, online diaries, worksheets, activity sheets, and games), 3) the experts in educational resources, 4) learning management system for VFTs, and 5) assessment and evaluation. There were 3 phases of the VFTs learning model and each phase had 6 steps ; (1) pre-using the model (1 week), 6 steps were engagement and motivation, scenario and problem, analysis, investigation and exploration, explanation, and evaluation (2) during using the model (2 weeks), 6 steps were engagement, investigation and exploration, analysis, explanation, elaboration, and evaluation and (3) post-using the virtual field trips activities (2 weeks), 6 steps were engagement, investigation and exploration, explanation, conclusion, elaboration, and evaluation. 2. The results of exploring effectiveness of the VFTs learning model from 1) one group experimental research design showed the students’ science learning outcomes posttest scores had significantly higher than the pretest at a level of significance of .05 and 2) 5 experts’ assessment before and after try-out the model were appropriate in high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27584
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1416
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jaemjan_sr.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.