Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4022
Title: กลวิธีที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ของผู้ป่วยนอกสูงอายุโรคเบาหวาน ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Strategies for improving medication compliance of elderly diabetic outpatients at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ปิยพร สุวรรณโชติ
Advisors: วินิจ วินิจวัจนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การใช้ยา
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความร่วมมือในการใช้ยาเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยสูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มีหลายกลวิธีที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย แต่ยังไม่มีการยืนยันประสิทธิผลของกลวิธีเหล่านี้ ในผู้ป่วยคนไทยสูงอายุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของกลวิธี 3 วิธี ต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและโรค ความพึงพอใจของผู้ป่วย ผลการรักษาและต้นทุนในการดำเนินงาน โดยศึกษาในรูปแบบการทดลองในผู้ป่วยนอกสูงอายุโรคเบาหวาน ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนกันยายน 2542 ถึงเดือนพฤษภาคม 2543 ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด จะได้รับการสัมภาษณ์ครั้งแรกด้วยแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น และจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการให้คำปรึกษา และเอกสารประกอบเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องการใช้ยาและโรค กลุ่มที่ 2 ได้รับการให้คำปรึกษาและภาชนะพิเศษบรรจุยา และกลุ่มที่ 3 ได้รับการให้คำปรึกษา เอกสารประกอบ และภาชนะพิเศษบรรจุยา หลังจากนั้นติดตามสัมภาษณ์ผู้ป่วยอีก 2 ครั้งตามกำหนดการนัดของแพทย์ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วย 173 คนในจำนวน 356 คน มีปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 48.6) ในผู้ป่วยจำนวน 173 คนนี้ มีผู้ป่วยเพียง 150 คน ที่เข้าร่วมตลอดการศึกษา อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 2.8:1 อายุเฉลี่ย 67.3+-5.4 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 46.7) ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 10.8+-6.9 ปี และได้รับยาเฉลี่ย 4+-1 รายการ จำนวนปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ภายหลังการติดตามผู้ป่วย 3 ครั้ง ลดลงและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ในระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพบว่าไม่แตกต่างกัน รูปแบบของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาที่พบมากที่สุด คือ การใช้ยาน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง (ร้อยละ 71.9) และสาเหตุส่วนใหญ่ของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ (ร้อยละ 60.0) โดยเฉพาะการลืมใช้ยา ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและโรคของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในการติดตามทั้ง 3 ครั้ง (P<0.05) แต่ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยระหว่างกลุ่ม ผู้ป่วยทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อการให้คำปรึกษาของผู้วิจัย เอกสารประกอบที่ได้รับ และภาชนะพิเศษบรรจุยา ความพึงพอใจของผู้ป่วยในทั้ง 3 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยระหว่างกลุ่ม ผลการรักษาพิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ต้นทุนในการดำเนินงานของทั้ง 3 กลวิธีเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 13.62-35.57 บาทต่อคนต่อครั้ง ในทั้ง 3 กลวิธีให้ผลที่ไม่แตกต่างกันในการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและโรค และความพึงพอใจของผู้ป่วย ควรมีการศึกษาต่อไปเพื่อประเมินประสิทธิผลของกลวิธีเหล่านี้ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ และการพัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Medication noncompliance is a crucial problem of elderly patients with chronic diseases. There are many strategies for improving their compliance with drug therapy, but the strategies have not yet proved to be effective for Thai elderly patients. This study was intended to compare the effects of three strategies on patient's medication compliance, knowledge of drug use and diseases, satisfaction, clinical outcome, and the cost of strategy implementation. An experimental study was conducted in elderly diabetic outpatients of King Chulalongkorn Memorial Hospital between September 1999 and May 2000. Patients included in the study were first interviewed using specially designed forms and allocated to one of three groups. Group 1 was given counseling and "drug and disease" brochures, whereas Group 2 received counseling and special medication containers. Group 3 obtained counseling, brochures plus special medication containers. Another two interviews were carried out based on the physician's appointments. The results showed that 173 out of 356 patients (48.6%) experienced noncompliance problems. Of 173 patients, only 150 finished the study. The female: male ratio was 2.8:1. Their average age was 67.3+-5.4 years. Most patients (46.7%) graduated from their primary schools. They were diabetic for 10.8+-6.9 years and received 4+-1 drugs. The number of patient's noncompliance problems after three follow-ups was significantly decreased (P<0.05), but that of between patient groups was not different. The noncompliance pattern "taking drugs less than ordered" was found in most patients (71.9%) and the medication noncompliance was mainly due to unintentional causes (60.0%), especially forgetfulness. Patient's knowledge of drug use and diseases was slightly increased (P<0.05) over the three interviews, but this knowledge between groups was not statistically different. All patients were satisfied with the researcher's counseling and the use of brochures and special medication containers. Within or between groups, the levels offasting plasma glucose were not different. The cost of implementing three strategies ranged from 13.62 to 35.57 baht. These strategies were equally effective in terms of improving patient's medication compliance, knowledge of drug use and diseases, and satisfaction with the strategies. Further studies are required to assess the effects of these strategies in other groups of chronic patients and to develop compliance aids of high quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4022
ISBN: 9743461949
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.