Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4027
Title: | การศึกษาความไวต่อแบบอย่างจิตรกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาศิลปกรรม สถาบันราชภัฏในเขตภาคใต้ |
Other Titles: | A study of sensitivity to painting styles of undergraduate students in fine arts program of Rajabhat Institutes in southern region |
Authors: | ปราโมทย์ ศรีปลั่ง, 2516- |
Advisors: | มะลิฉัตร เอื้ออานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สุนทรียศาสตร์ ทัศนศิลป์ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความไวต่อแบบอย่างจิตรกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาศิลปกรรม สถาบันราชภัฏในเขตภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 ของสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 25 คน และสถาบันราชภัฏยะลา จำนวน 43 คน โดยมีจำนวนรวมทั้งหมด 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือแบบทดสอบรูปภาพ ใช้ในการวัดความไวต่อแบบอย่างจิตรกรรม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นแบบฟอร์มที่ใช้พิจารณาคำตอบเกี่ยวกับคุณลักษณะของจิตรกรรม ที่ทำให้สามารถจำแนกแบบอย่างและแบบสอบถาม เพื่อศึกษาถึงสภาพส่วนตัวและภูมิหลังที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียภาพ และทัศนคติทางศิลปะของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของความไวต่อแบบอย่างจิตรกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาศิลปกรรมของสถาบันราชภัฏในเขตภาคใต้มีระดับที่น้อย (X=2.10) และคุณลักษณะของแบบอย่างจิตรกรรมที่นักศึกษาสามารถแยกแยะและสังเกตเห็น ถึงความแตกต่างกันของศิลปินแต่ละคนในแบบทดสอบรูปภาพนั้นส่วนใหญ่เป็นคุณลักษณะในด้านพื้นผิวที่เกิดจากลักษณะของการระบายสี โดยเฉพาะพื้นผิวที่เกิดจากรอยฝีแปรงในลักษณะรูปแบบต่างๆ และประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ภูมิหลังเกี่ยวกับสุนทรียภาพ และทัศนคติทางศิลปะของนักศึกษานั้น พบว่านักศึกษาส่วนหนึ่งเข้ามาเรียนในโปรแกรมวิชานี้ มิใช่ด้วยความชอบหรือความถนัด และนักศึกษาส่วนใหญ่แสดงทัศนคติทางศิลปะ และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิหลังทางสุนทรียภาพ ในระดับน้อยถึงปานกลาง |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study of sensitivity to painting styles of undergraduate students in fine arts program of Rajabhat Institutes in southern region. Population were 25 senior students in fine arts program at Rajabhat Institute Nakhornsrithammarat and those 43 students of Rajabhat Institute Yala who were in the same program. The population were in their first semester of 2000 educational year. The instrument were a set of five exemplar paintings for measuring students' sensitivity to painting styles, structured interview for identifying characteristics that ascribed to painting styles and a set of questionnaires for studying population's personal background, aesthetic and attitude towards arts. The data was analyzed by means of frequency, percentage, arithmetic means and standard deviation. The research findings revealed that the means value of sensitivity to painting styles was low (x=2.10). Moreover, the findings indicated that characteristics most identify the differences of painting styles between artists was texture that has been affected by the variety of brush stroke. The important finding in population's personal background, aesthetic and attitude towards arts indicated that there were number of student entered this program without personal preference and aptitude. Most of students expressed their attitude towards arts and indication towards aesthetic state in between low to moderate level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4027 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.459 |
ISBN: | 9743464441 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.459 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pramote.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.