Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42304
Title: | แนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมือง(บ้านมั่นคง)ให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย |
Other Titles: | Design guideline of urban low-income houses community (Baan Man Kong) for improving thermal comfort |
Authors: | พรรณินทร์ สุขเกษม |
Advisors: | อรรจน์ เศรษฐบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย--การออกแบบและการสร้าง ชุมชนแออัด House construction Dwellings -- Design and construction Slums |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมือง(บ้านมั่นคง)ให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานของบ้านมั่นคงเป็นกรอบของแนวทางการออกแบบร่วมกับกระบวนการศึกษาสำรวจชุมชน การทดลองและการปรึกษาร่วมกับสถาปนิกบ้านมั่นคง บ้านมั่นคงเป็นหน่วยงานในสังกัดของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาชุมชนแออัดด้วยที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคง ผ่านกระบวนการชุมชน และการดำเนินงานร่วมกันของ พอช.กับชาวชุมชน การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับบ้านมั่นคงมักจะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการและสังคมศาสตร์ แต่ยังคงขาดประเด็นการออกแบบให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย การวิจัยนี้จึงใช้ประเด็นนี้ในการศึกษาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และแนวทางการออกแบบบ้านมั่นคงให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย เพื่อให้สถาปนิกบ้านมั่นคงซึ่งมักจะออกแบบบ้านด้วยเวลาอันจำกัด จากปัจจัยบุคลากรน้อยและปริมาณโครงการมาก สามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของบ้านมั่นคง และการสัมภาษณ์สถาปนิกพอช. ร่วมกับการศึกษากรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคงชุมชนบ่อนไก่ที่สร้างเสร็จแล้ว ผลการศึกษาขั้นแรกแสดงว่า ตัวแปรหลักที่มีผลต่อความน่าสบายซึ่งควรใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงทดลองในขั้นต่อไป คือ อุณหภูมิ อุณหภูมิพื้นผิว และความเร็วลม โดยใช้บ้านต้นแบบ ขนาด 4.00 x 6.00 เมตร สูง 2 ชั้น ไปทำการศึกษาต่อไป การวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย การศึกษาอุณหภูมิ และความเร็วลม โดยมีปัจจัยของอาคารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปริมาณรังสีอาทิตย์ที่เข้าสู่อาคาร ลักษณะแผงบังแดด หลังคา ชายคา ช่องเปิดและช่องระบายอากาศ และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ยาก เนื่องมาจากสภาพที่ตั้งในเขตเมืองซึ่งมักมีราคาสูงและมีจำนวนผู้อยู่อาศัยมาก การวางผังจึงค่อนข้างแออัด และอยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย การวิจัยจึงสร้างแนวทางก่อสร้างบนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมที่แออัด และเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายในทุกกรณี ผลการวิจัยนี้ คือ แนวทางการออกแบบบ้านในชุมชนแออัดในเขตเมืองให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย ง่ายต่อการนำไปใช้ของสถาปนิกพอช. ซึ่งมีความน่าสบายทั้งปี คิดเป็น 24% ซึ่งเพิ่มขึ้น 12% มีราคาค่าก่อสร้างต่อหลัง 218,739 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 3,664 บาท และมีราคาก่อสร้างต่อตารางเมตรเพิ่มขึ้น 76 บาท |
Other Abstract: | This research aims to develop design guidelines for a low-income housing community named Baan Man Kong. The goal is to improve thermal comfort and residents’ quality of life. The framework of this project is to integrate the design process with an experimental study, using a community survey and consultation by Baan Man Kong’s architects. Baan Man Kong, operated under the Community Organizations Development Institute (CODI), has the main goal to encourage existing low-income housing communities to form co-ops and develop their housing in collective ways. Baan Man Kong‘s research was usually done by management and lacks the social part and a thermal comfort design approach. This research focuses on this point of study in order to achieve knowledge and design guidelines for improving thermal comfort, and also looks at Baan Man Kong’s architects’ project operation. The first process of this research was to study the basic needs of Baan Man Kong. An interview with Baan Man Kong architects was conducted and a survey was given to Baan Man Kong’s residents. This study revealed that the thermal comfort’s main factors are the mean radiant temperature and air velocity, and the next processes studied was Baan Man Kong‘s typical house condition. Air temperature and velocity measurements were conducted in order to investigate the building heat transfer due to the roof type, fins, walls, materials, surroundings and ventilation. In conclusion, the guidelines for improving the thermal comfort of Baan Man Kong are proposed and they are expected to meet community dwellers’ needs in terms of Economic feasibility and the design of the architect. The study revealed that the hourly thermal comfort per year was increased 12% and the construction cost was increased by 3,664 baht (76 baht per square meter). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42304 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.966 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.966 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punnin_su.pdf | 33.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.