Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45062
Title: | การประเมินการใช้พลังงานสำหรับหัวเผาประสิทธิภาพสูงในเตาชัตเติลของอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศไทย |
Other Titles: | An assessment of energy consumption for high-efficiency burners in shuttle kiln for ceramic industry in Thailand |
Authors: | เสาวรา อาสาวะ |
Advisors: | สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เตาเผา -- การใช้เชื้อเพลิง อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา -- การใช้พลังงาน Kilns -- Fuel consumption Ceramic industries -- Energy consumption |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบการใช้พลังงานระหว่างเทคโนโลยีหัวเผาประสิทธิภาพสูงแบบรีคัฟเปอร์เรทีฟและรีเจนเนอเรทีฟสำหรับเตาชัตเติลในอุตสาหกรรมเซรามิกโดยการเลือกอุณหภูมิในการอุ่นอากาศของหัวเผาให้มีความเหมาะสมกับขนาดของเตาซึ่งใช้ข้อมูลจากโรงงานเซรามิกตัวอย่างที่ใช้เตาเผาแบบเตาชัตเติลขนาด 4 ลูกบาศก์เมตร และใช้เชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลวในเผาการผลิตภัณฑ์โดยกำหนดให้อายุของโครงการเท่ากับ 70 ปี จากการวิเคราะห์พลังงานสำหรับเตาเผาเซรามิกที่ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเท่ากับ 32.39% พบว่าควรเลือกใช้เทคโนโลยีหัวเผาประสิทธิภาพสูงแบบรีคัฟเปอร์เรทีฟที่มีความสามารถในการอุ่นอากาศที่อุณหภูมิเท่ากับ 700๐Cซึ่งสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ 30.51%โดยที่การติดตั้งหัวเผาแบบรีคัฟเปอร์เรทีฟ จะให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุนเท่ากับ 5,074,855.52บาทและมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2.56ปี หรือติดตั้งหัวเผาแบบรีเจนเนอเรทีฟมีความสามารถในการอุ่นอากาศที่อุณหภูมิเท่ากับ 900๐Cซึ่งสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ 39.70%โดยที่การติดตั้งหัวเผาแบบรีเจนเนอเรทีฟจะให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุนเท่ากับ 4,911,429.12บาทและมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 4.17ปีซึ่งจากผลการศึกษาสำหรับเตาเผาเซรามิกในโรงงานตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่าสมควรเลือกลงทุนในโครงการหัวเผาประสิทธิภาพสูงแบบรีคัฟเปอร์เรทีฟ ที่มีความสามารถในการอุ่นอากาศที่อุณหภูมิเท่ากับ 700 องศาเซลเซียส |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to analyze and compare the energy consumption of the high efficiency burners, which are the recuperative burner and the regenerative burner, for the shuttle kiln in the ceramic industry.In order to select a type of the high efficiency burner which appropriates for the kiln,the energy data from the shuttle kiln is utilize from the size of 4 cubicmeter and the use of the liquefied petroleum gas (LPG). The project is conducted under the assumptions for a period of 70 years.The energy balanceof the shuttle kilnshowed thatthe thermal efficiency is 32.39%. According to an analysis of the the recuperative burner, the obtained optimum preheating air combustion temperature is700๐C. The fuel consumption of the high efficiency burner can be saved about 30.51%.The Net Present Value (NPV) and the payback period are5,074,855.52Baht,and2.56years, respectively.In the case of the regenerative burner, the obtained optimum preheating air combustion temperature is900๐C. The fuel consumption of the high efficiency burner can be saved about 39.70%.However, the Net Present Value (NPV) is4,911,429.12Baht, which is over than the one from the recuperative burner and the payback period is4.17years which is longer than the one from the recuperative burner. Therefore,the recuperative burner should be invested in this study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45062 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sauvara_ar.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.