Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51009
Title: การพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดท่องเที่ยวบนเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี
Other Titles: LANDSCAPE DEVELOPMENT AND IMPROVEMENT FOR TOURIST BEACHES AT KOH LARN, CHANGWAT CHONBURI
Authors: วัชรพล วรดิเรก
Advisors: อังสนา บุณโยภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เกาะล้าน มีชายหาดขาว น้ำทะเลใสและเข้าถึงได้สะดวก ทำให้การท่องเที่ยวเติบโตได้รวดเร็ว โดยเมืองพัทยาได้ประกาศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำหนดให้เป็นชายหาดพัฒนา ซึ่งสวนทางกัน ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ จำแนกประเภทชายหาดท่องเที่ยวบนเกาะล้าน สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และเสนอทิศทางที่เหมาะสมในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดของเกาะล้าน การดำเนินงานประกอบด้วย 1) จำแนกประเภทชายหาดท่องเที่ยว ตามปัจจัยด้าน ที่ตั้ง ความหนาแน่นของผู้ใช้งาน สภาพธรรมชาติ การสัญจร การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก การจัดการดูแล และกิจกรรมในพื้นที่ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากภาพถ่ายทางอากาศย้อนหลัง 3) การสำรวจพื้นที่ชายหาดท่องเที่ยว ด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม และการใช้งาน 4) สำรวจความพึงพอใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติรวม 385 คน 5) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้บริการและบริหารจัดการพื้นที่ 14 คน 6) วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับกรณีศึกษาและหลักการพัฒนาชายหาดท่องเที่ยว 7) เสนอแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดท่องเที่ยว เกาะล้าน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เกาะล้านมีหาดท่องเที่ยว 7 ชายหาด จัดเป็นชายหาดพัฒนาแบบกึ่งธรรมชาติ 4 หาด กึ่งเมือง 2 หาด และในเมือง 1 หาด ในขณะที่นักท่องเที่ยวเห็นว่าชายหาดทั้งหมดเป็นหาดพัฒนาแบบกึ่งเมือง มีสภาพหาดทรายและน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ดีและเป็นสิ่งดึงดูดใจ แต่ผลการสำรวจและสัมภาษณ์พบปัญหา การปนเปื้อนตะกอนน้ำเสียในหาดทราย การกัดเซาะชายหาดจากสร้างกำแพงกันคลื่น การปลูกสร้างรุกล้ำชายหาด ขาดร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ กิจกรรมในพื้นที่ขัดแย้งกัน ทางสัญจรไม่ปลอดภัย และการขาดแคลนน้ำจืด โดยเสนอให้มีการปรับปรุงดังนี้ จัดการน้ำเสียไม่ให้ส่งผลต่อคุณภาพชายหาดและน้ำทะเล กำหนดระยะถอยร่นจากชายหาดที่เหมะสม ปลูกต้นไม้พื้นถิ่นเพิ่มความร่มรื่นและเป็นแนวกำบังลม ลดพื้นที่ดาดแข็งและใช้วัสดุซึมน้ำทดแทน กำหนดโซนกิจกรรมเพื่อลดความขัดแย้ง จัดการการสัญจรและที่จอดรถที่คำนึงถึง การใช้งาน ความปลอดภัย และทัศนียภาพที่ดี รวมถึงสร้างและปรับปรุงแหล่งเก็บน้ำ
Other Abstract: Koh Larn has white sandy beaches, clear sea water, and convenience access which have made tourism on the island grow rapidly. Pattaya Municipality declares Koh Larn as Conservation Beach, while Ministry of Tourism and Sports considers it differently as an Active Beach. Objectives of this study were to identify type of Koh Larn’s tourist beaches, investigate problems, demand, and satisfaction of tourists, and propose appropriated guidelines for landscape development and improvement. Methodology of this study included 1) Identify type of tourist beaches. 2) Study beaches conditions changes by aerial photographs. 3) Explore existing physical and environmental conditions, and tourists’ activities. 4) Survey satisfactions level of 385 tourists. 5) Interview 14 authorities and retailers on Koh Larn. 6) Analyse collected data, compare case studies with criteria for tourist’s beach development. 7) Propose guidelines for landscape development and improvement, This study can be divided into 4 semi-natural beaches, 2 semi-urban beaches, and 1 urban beach. From tourists’ opinion, all beaches were semi-urban beaches with good quality of sand and sea, which were main attractions of Koh Larn. However, many problems were found from observation and interview such as:- evident of sand’s contamination; beaches’ erosion and encroachment; inappropriate service buildings; lack of shaded trees; conflict of activities; unsafe circulations; and inadequate fresh water. The study proposed following recommendations: - manage waste water.; designate set back; plant only native vegetations,; designate activity zone; regulate circulation and parking; and develop water reservoir.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51009
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773338225.pdf16.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.