Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52397
Title: | การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากอุตสาหกรรมจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มและโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ |
Other Titles: | BIOGAS PRODUCTION OF CO - DIGESTION FROM BEVERAGE INDUSTRY WASTE AND ORGANIC FERTILIZER WASTE |
Authors: | วิชชุตา ตุ่มทอง |
Advisors: | สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ ฟ้าใส วิวัฒน์วงศ์วนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | ก๊าซชีวภาพ ของเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม Biogas Factory and trade waste Beverage industry |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทาการศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากอุตสาหกรรมจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มกับวัตถุดิบของโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากน้ำเสียที่ใช้ล้างลานวัตถุดิบที่สำหรับใช้ในการผลิตปุ๋ย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการหมักร่วมของกากตะกอนที่เหลือทิ้งจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มจากทั้งหมด 4 ตัวอย่างคือ นม เบียร์ กาแฟ และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง หมักร่วมกับกากตะกอนจากบ่อบำบัดของโรงปุ๋ยซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ในอัตราส่วน 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 และ 0:100 โดยใช้น้ำหนักแห้งของวัตถุดิบหมักเป็นเกณฑ์ ศึกษาระดับห้องปฏิบัติการ เติมวัตถุดิบครั้งเดียวแบบแบตซ์ บนโต๊ะเขย่าสารใช้ระบบหมักแบบไร้อากาศ จากการทดลองพบว่า อัตราส่วนที่ทำให้เกิดปริมาณก๊าซชีวภาพสูงสุด ทั้งปริมาณต่อวันและปริมาณสะสม คืออัตราส่วนการหมัก 75:25 โดยกากอุตสาหกรรมที่ใช้หมักร่วมแล้วเกิดก๊าซชีวภาพสูงสุดคือ นม ที่ 272 มิลลิลิตร รองลงมาคือกาแฟ 162 มิลลิลิตร เบียร์ 139 มิลลิลิตรและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 128 มิลลิลิตรตามลำดับ การวิเคราะห์องค์ประกอบก๊าซพบว่า การเพิ่มกากอุตสาหกรรมเพื่อเป็นวัตถุดิบหมักร่วมกับกากตะกอนโรงปุ๋ยทำให้องค์ประกอบของก๊าซ (มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์) ลดลงกว่าการหมักโดยใช้กากตะกอนเพียงอย่างเดียว อัตราส่วนการหมักร่วมที่ให้ก๊าซมีเทนสูงสุดคือ การหมักของกากตะกอนกับกากอุตสาหกรรม 75:25 โดยกากอุตสาหกรรมที่ใช้หมักร่วมแล้วเกิดก๊าซมีเทนสูงสุดได้แก่ นม พบก๊าซมีเทนร้อยละ 20.99 รองลงมาคือกาแฟร้อยละ 15.89 จากการคำนวณพลังงานความร้อน ที่ได้จากการหมักก๊าซชีวภาพ อัตราส่วนที่เหมาะสมที่ให้พลังงานความร้อนสูงสุดจากการหมักคือ 75:25 ซึ่งกากอุตสาหกรรมที่เหมาะสมคือ นม ให้พลังงานความร้อน 2530.923 จูล จากการศึกษาพบว่า การเติมกากอุตสาหกรรมจากโรงงานผลิตเครื่องดื่มเพื่อใช้ในการหมักร่วมกับวัตถุดิบของโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลให้ค่ามีเทนซึ่งเป็นองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพลดลงและช่วยให้ได้ปริมาณก๊าซเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ได้พลังงานร้อนเพิ่มสูงขึ้น อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 75:25 และกากอุตสาหกรรมที่เหมาะสมคือ นม |
Other Abstract: | This Research aims to study efficiency of Bio Co-digestion from Beverage Industry Waste and Organic Fertilizer Raw Material. The waste water of Covered Lagoon treatment process was produced Biogas come from waste water cleaning raw material field. The Researcher was studied suitable mixing ratio between Beverage Industry Waste were taken from milk, Beer, Coffee and Energy Drink mixing with Organic Fertilizer Raw Material. For this Study, mixing ratio are 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 and 0:100 considered by dry basis and using Shaker Machine. The experimental result showed the proportion 75:25 illustrate the maximum quantity of biogas accumulated equal 272 ml by milk. And less than accumulate were Coffee equal 162 ml, Beer equal 139 ml, minimum cumulative biogas volume equal 128 ml from Energy Drink. The Analysis of the gas composition results that showed, the blend of Beverage Industry Waste per Organic Fertilizer Raw Material were decrease the gas production (Methane and Carbondioxide) more than only Organic Fertilizer Raw Material The study found mixing ratio the blend of Beverage Industry Waste per Organic Fertilizer Raw Material has the highest percentage of Methane ratio is 75:25 from milk and its produced 2,530.923 joule , Coffee equal 1,141.132 joule, Beer equal 840.479 joule and Energy Drink equal joule of heating value. Experiment results on mixed more Beverage Industry Waste blend with Organic Fertilizer Raw Material decrease methane and the proportion 75:25 to make highest gas production and the heating value. The milk was suitable for mixing with Organic Fertilizer Raw Material. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52397 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.35 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.35 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787581720.pdf | 6.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.