Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53599
Title: | ลำดับชั้นหินและสภาพแวดล้อมการสะสมตัวโบราณของหินปูนไทรแอสสิกบริเวณเขำสุขไพรวัน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Stratigraphy and paleoenvironments of triassic limestone at Khao Sukphaiwan, Amphoe Klaeng, Changwat Rayong |
Authors: | วิลัยพร ศรีนาม |
Advisors: | ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | หินปูน -- ไทย -- ระยอง ศิลาวิทยา -- ไทย -- ระยอง ฟอแรมินิเฟอรา Limestone -- Thailand -- Rayong Petrology -- Thailand -- Rayong Foraminifera |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชั้นหินทากายภาพ และสภาพแวดล้อมการ สะสมตัวในอดีต บริเวณเขาสุขไพรวันอำเภอแกลง จังหวัดระยอง จากการสำรวจภาคสนาม ได้ทำ การเก็บตัวอย่าง 3 จุดศึกษา ได้ทำการเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 40 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาภายใต้กล้อง จุลทรรศน์โพลาไรซิ่ง จากการลำดับชั้นหินทางกายภาพ พบว่าสามารถเห็นชั้นหินมีการเรียงตัวเป็นชั้นบางถึง หนาประกอบไปด้วยหินปูน หินดินดาน และหินทราย โดยมีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออก- ตะวันตก ทิศทางการเอียงเททางทิศใต้ พบโครงสร้างของหินตะกอนหลายชนิด ได้แก่ ชั้นหินบาง ขนาน (lamination)และการวางชั้น แบบคัดขนาดปกติ (normal graded bedding) และเนื้อหินที่ พบมีลักษณะของออนคอยด์ (oncoid) พบปรากฏอยู่ทั้ง 3 จุดศึกษา จากการศึกษาศิลาวรรณนาสามารถจำแนกหินปูนตามได้ดังนี้มัดสโตน แวคสโตน แพคส โตน และเกรนสโตน โดยในเนื้อหินพบออนคอยด์ จากการศึกษาพบซากดึกดำบรรพ์ของฟอแรมมินิเฟอร่า(foraminifera) ขนาดเล็กในหิน คาร์บอเนต สามารถจำแนกได้เป็น Endotriada และ Crytoseptida และ สามารถบ่งบอกอายุ ในช่วงไทรแอสสิกตอนต้น สภาพแวดล้อมการสะสมตัวเกิดในบริเวณที่มีพลังงานในการพัดพาต่ำ และมีลักษณะเด่นคือออนคอยด์ดังนั้น สภาพแวดล้อมการสะสมตัวคือในช่วง intertidal ถึง shallow subtidal |
Other Abstract: | The aim of this work is to study on lithostatigraphy and paleoenvironment of sedimentary rock exposed at Khao Sukphaiwan, Amphone Klaeng,Changwat Rayong.Three exposures have been measured and 40 samples were collected in order to study petrography and determination of carbonate rock in the study area. The section contains thin to thick bedded. The sedimentary rocks consist of limestone, shale and sandstone which the strike of bedding plane is in east-west and dipping to south. Normal graded bedding and lamination were found. Oncoid are abundant in bed of all section. The carbonate rock type contains mudstone, wackestone, packstone, grainstone. The grain consists of oncoid. Foraminifers are Endotriada and Crytoseptida were found in this study area and indicate Early Triassic. The depositional environment of limestone was in low energy such as intertidal to shallow subtidal because oncoid can be found |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53599 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1426 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1426 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5432734023_วิลัยพร ศรีนาม.pdf | 7.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.