Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55189
Title: การรับรู้ การเสพติดและผลกระทบจากการดูดวง
Other Titles: PERCEPTION, ADDICTION AND IMPACT OF FORTUNE TELLING
Authors: อัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี
Advisors: อุ่นเรือน เล็กน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการดูดวงทั้ง 3 มิติ ตามหลักข้อเท็จจริง เรื่องที่สร้างขึ้นและเรื่องลี้ลับอัศจรรย์ อีกทั้งยังศึกษาพฤติกรรมการเสพติดและผลกระทบจากการเสพติดดูดวงการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกกระบวนการวิธีวิจัยแบบรองรับภายใน (Embedded design)ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและผนวกกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลขั้นตอนสุดท้าย เพื่อศึกษาการรับรู้ มิติของการดูดวงและมีการพัฒนาแบบสอบถามขึ้นมาตามผลของปรากฏการณ์บาร์นัม(Barnum Effect) โดยเก็บแบบสอบถามทั้งหมด 385 ชุด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) อีกทั้งยังพิจารณาจากจำนวนโต๊ะหมอดู ชื่อเสียงของหมอดู แหล่งที่ตั้งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้ใช้บริการและช่วงเวลาในการดูดวงของแต่ละพื้นที่ในการแจกแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดการรับรู้ ทั้ง 6 สถานที่สำคัญของการดูดวง ประกอบด้วย 1. ตรอกท่าพระจันทร์ 2. ตรอกวังหลัง 3. สี่แยกห้วยขวาง 4. วัดมหาบุศย์ 5. สมาคมโหรแห่งประเทศไทย และ 6. สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ เพื่อทำการค้นหาผู้ที่มีพฤติกรรมเสพติดดูดวงตามเกณฑ์การวินิฉัยของ Griffith's "Component" Modelโดยเน้นการหารายละเอียดในมิติต่างๆ ของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนามและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบที่จะส่งเสริม หรือในสิ่งที่ต้องการศึกษาซึ่งเป็นการหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล ผลการศึกษา พบผู้ใช้บริการดูดวงเชื่อว่าการดูดวงเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้เพราะมีหลักสถิติในการเก็บข้อมูลที่ทำให้เกิดความแม่นยำ(ข้อเท็จจริง) มากที่สุด ร้อยละ 82.3 และยังเชื่อว่าการดูดวงเป็นศาสตร์ที่ใช้สำหรับการทำนายอนาคต(สิ่งลี้ลับ อัศจรรย์)ร้อยละ 73.2โดยจากการเก็บแบบสอบถาม พบผู้ที่มีพฤติกรรมการเสพติดดูดวง ร้อยละ 3.9 ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบผู้ที่มีพฤติกรรมการเสพติดดูดวงมีลักษณะตามเกณฑ์วัดการเสพติด Griffith's "Component" Model ทุกระดับ ในแง่ของผลกระทบจากการเสพติดดูดวง ทางด้านบวกพบการดูดวงเป็นที่พึ่งทางใจและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในยามที่เกิดปัญหาทำให้มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นและในยามทุกข์ ช่วยทำให้ความทุกข์ลดลงได้โดยคิดว่าหมอดูที่ตนไปดูดวงด้วยนั้นเป็นที่ปรึกษา รับฟังและให้คำแนะนำในทางที่ถูกที่ควร ส่วนผลด้านลบจากการเสพติดดูดวงนั้น พบการดูดวงทำให้เสียสุขภาพจิต ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเกิดปัญหา เกิดการปรับเปลี่ยนทางอารมณ์ มีความหมกมุ่นอยู่กับการดูดวงอยู่ตลอดเวลาจนไม่สนใจสิ่งรอบตัวทำให้ส่งผลทั้งด้านความคิดและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ อีกทั้งยังทำให้วิถีในการดำรงชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมจนกลายเป็นผู้ที่เฝ้ารอคอยและใช้ชีวิตไปตามโชคชะตาโดยไม่ลงมือกระทำสิ่งใดๆ รวมไปถึงไม่สามารถจัดการปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
Other Abstract: The purpose of this study was to examine 3 dimensions of the Fortune Telling perception according to Fact, Fiction and Fantasy and to examine the addictive behavior and the impact of Fortune Telling addiction. This research was using the embedded design methodology. Quantitative data were collected through questionnaires and Qualitative data were collected through in-depth interview to examine the perception, the view of Fortune Telling and developed questionnaires base on the result of Barnum Effect’s by collecting 385 questionnaires and use the Simple Random Sampling. Also considered on the number of Fortune Teller, reputation, location of sanctity, transportation and period of Fortune Telling. Main location of this study are 1. Tha Pra Chan 2. Wang Lang 3. Huai Kwang Intersection 4. Maha Bodhi Temple 5. The Astrology of Thailand and 6. The International Astrological Association. To searching for the representative sample who got addicted from Fortune Telling according to the criteria of Griffith's Component Model. By focusing in various dimension of the samples from field survey method and the primary data from relevant research. The study found that Fortune Telling believe the Fortune is reliable because they use statistical method to collecting the information (Fact) and the number is 82.3%. 73.2% of this study believe that the Fortune is a science that use to predicting the future (Fantasy). 3.9% from the questionnaire got addicted by Fortune. The result from in-depth interview show that the sample who got addicted by Fortune are characterized by the Griffith's Component Model in every levels. In terms of the impact of addictions in the positive side is they believe that the Fortune is their reliance mental and emotional anchor and help suffering reduced. They know that the Fortune Teller as a consultant. And another negative side of the addiction are lack of self-confident, dare to make a decision when problem arise, the change of mood, obsessed with Fortune all the time making their everyday life to became a people who only waiting and living according to fate.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55189
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.683
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.683
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787304220.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.