Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58141
Title: ความสัมพันธ์ของวิตามินดีกับความหนาแน่นกระดูกและภาวะพังผืดในตับผู้ป่วยโรคท่อน้ำดีตีบตัน
Other Titles: ASSOCIATION OF VITAMIN D, BONE MINERAL DENSITY AND LIVER FIBROSIS IN BILIARY ATRESIA
Authors: กฤตภัค หอมจันทร์
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ 25-hydroxyvitamin D (25(OH)D) ในซีรัม และความหนาแน่นกระดูก (bone mineral density, BMD) รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ 25(OH)D กับความรุนแรงของการสร้างพังผืดตับและสุขภาพกระดูกในผู้ป่วยเด็กโรคท่อน้ำดีตีบตัน (Biliary atresia หรือ BA) ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบ Kasai โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย BA ที่เข้ามารับการรักษา ณ หน่วยทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง 2558 จำนวนทั้งสิ้น 82 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีภาวะดีซ่านและกลุ่มที่ไม่มีภาวะดีซ่าน ในงานวิจัยนี้ใช้การวัดระดับ 25(OH)D ในซีรัมด้วยเทคนิค chemiluminescence immunoassay ความยืดหยุ่นตับด้วยเครื่อง transient elastography และความหนาแน่นกระดูกที่ตำแหน่ง lumbar spine ด้วยเครื่อง dual energy X-ray absorptiometry (DEXA) พบว่าในผู้ป่วย BA มีระดับ 25(OH)D ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.02 (26.9 ± 14.4 และ 38.4 ± 25.4 ng/ml) และในผู้ป่วย BA กลุ่มที่มีภาวะดีซ่านมีระดับ 25(OH)D ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะดีซ่านอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.001 (18.5 ± 11.3 และ 30.0 ± 14.1 ng/ml) อีกทั้งในผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะดีซ่านพบความชุกของผู้ที่มีเกณฑ์ขาดวิตามินดีรุนแรง (25(OH)D≤20 ng/ml) สูงกว่าในกลุ่มที่ไม่มีภาวะดีซ่านอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.001 โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะดีซ่านมีค่า lumbar BMD Z-score ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะดีซ่านอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.005 (-2.0 ± 2.2 และ -0.4 ± 0.9) อีกทั้งในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการดีซ่านพบความชุกของผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง (osteopenia) และภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) มากกว่าในกลุ่มที่ไม่มีภาวะดีซ่านอย่างมีนัยสำคัญที่ p=0.002 โดยพบ 12 ราย (66.6%) จากกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะดีซ่าน และพบ 5 ราย (20.8%) จากกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะดีซ่าน นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ 25(OH)D ในซีรัมของผู้ป่วย BA มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับ albumin (r=0.35, p=0.001), total bilirubin (r=-0.46, p<0.001), direct bilirubin (r=-0.39, p<0.001) และค่าความยืดหยุ่นตับ (r=-0.34, p=0.002) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับ 25(OH)D กับ BMD งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการให้วิตามินดีเสริมแก่ผู้ป่วย BA ที่มีอาการรุนแรง เพื่อช่วยยับยั้งและป้องกันการสร้างพังผืดในตับของผู้ป่วย รวมถึงช่วยลดการเกิดภาวะกระดุนพรุนในผู้ป่วยต่อไป
Other Abstract: This study aimed to investigate serum 25-hydroxyvitamin D [25(OH)D] and bone mineral density (BMD) in postoperative biliary atresia (BA) in children. It also aims to determine the associations between serum 25(OH)D levels with severity of hepatic fibrogenesis and bone health in post-Kasai BA subjects. Eighty-two children with BA from the gastrointestinal clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital between 2010 and 2015 were enrolled in this study. The patients were classified into two groups according to their jaundice status. Serum 25(OH)D concentrations were measured using chemiluminescence immunoassay. Liver stiffness was assessed using transient elastography, and BMD of the lumbar spine was analyzed using dual energy X-ray absorptiometry (DEXA). We found that BA patients had significantly lower serum 25(OH)D level compared to healthy controls (26.9 ± 14.4 vs. 38.4 ± 25.4 ng/ml, respectively; p=0.02). Serum 25(OH)D were substantially lower in jaundiced group than non-jaundiced group (18.5 ± 11.3 vs. 30.0 ± 14.1 ng/ml, respectively; p<0.001). The prevalence of vitamin D deficiency (25(OH)D≤20 ng/ml) in BA patients with jaundice was higher than BA patients without jaundice and controls (p<0.001). In addition, lumbar spine BMD Z-score was considerably lower in the jaundiced patients compare to non-jaundiced patients (-2.0 ± 2.2 vs. -0.4 ± 0.9, respectively; p=0.005). Twelve jaundiced patients (66.6%) and versus 5 non-jaundiced patients (20.8%) showed osteopenia and osteoporosis (p=0.002). Further analysis revealed that serum 25(OH)D levels were significantly correlated with albumin (r=0.35, p=0.001), total bilirubin (r=-0.42, p<0.001), direct bilirubin (r=-0.40, p<0.001) and liver stiffness score (r=-0.34, p=0.002). No association was found between 25(OH)D levels and BMD. This study highlights the need of vitamin D supplementation and its potential in maintaining bone mass in persistently jaundiced BA children.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58141
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.768
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674004730.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.