Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6002
Title: | ผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำต่อการจ้างงานแรงงานไร้ฝีมือ |
Other Titles: | The effect of minimum wages on unskilled labor employment |
Authors: | เสาวลักษณ์ วิศววิกรานต์ |
Advisors: | ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | แรงงานไม่มีฝีมือ -- การจ้างงาน -- ไทย ค่าจ้างกับแรงงาน -- ไทย ค่าจ้างขั้นต่ำ -- ไทย |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำต่อการจ้างงานแรงงานไร้ฝีมือ โดยมีเป้าหมายประการแรกในการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย ประการที่สองเพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต่อความต้องการแรงงานไร้ฝีมือ และประการสุดท้ายเพื่อศึกษาถึงความสอดคล้องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำกับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือ ขอบเขตของการศึกษาได้เลือกศึกษาในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญสองภาคอุตสาหกรรม ได้แก่หัตถอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้าง โดยใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2537 ถึงปี พ.ศ. 2539 ในการศึกษา ผลการศึกษาผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำต่อการจ้างงานโดยใช้วิธีประมาณการสมการถดถอยหลายตัวแปรพบว่า การจ้างงานแรงงานไร้ฝีมือมีความสัมพันธ์กับค่าจ้างขั้นต่ำในทิศทางตรงกันข้าม นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างขั้นต่ำมีผลกระทบต่อแรงงานไร้ฝีมือในภาคหัตถอุตสาหกรรมมากกว่าแรงงานไร้ฝีมือในภาคก่อสร้าง และมีผลกระทบต่อแรงงานไร้ฝีมือเพศหญิงมากกว่าแรงงานไร้ฝีมือเพศชาย การศึกษาความสอดคล้องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำกับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือ ได้นิยามผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือ หมายถึง ผลผลิตเพิ่มของแรงงานไร้ฝีมือ (Marginal Product of Unskilled Labor) ซึ่งหาได้จากการประมาณสมการการผลิต Cobb-Douglas ผลการศึกษาพบว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านมาไม่มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมทั้งสอง กล่าวคือผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือของภาคหัตถอุตสาหกรรมในเขต 1 และผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือของภาคก่อสร้างในเขต 1, 2 และ 3 เฉลี่ยช่วงปี 2538-2539 มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลดลง ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำในเขต 1, 2 และ 3 เฉลี่ยปี 2538-2539 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงปีดังกล่าวก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงานและทำให้การจ้างงานแรงงานไร้ฝีมือลดลง จากผลการศึกษา จึงเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือเพื่อให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานแรงงานไร้ฝีมือ และเสนอให้มีการปรับปรุงระบบการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้มีหลายอัตราตามภาคอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพแรงงานไร้ฝีมือที่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | This study aimed to explore the effect of minimum wage on unskilled labor. The first objective was to study background and the significant of the minimum wage in Thailand. The second objective was to examine the effect of minimum wage on employment of unskilled labor. The third objective was to analyze a concurrence between the adjustment of minimum wage rate and the change in productivity of unskilled labor. As for the scope of the study, the two important industries which were manufacturing and construction sectors were selected. The data from 1994 to 1996 were used in this study. Using method of multiple regression in examining the effect of minimum wage on employment of unskilled labor, the study found a negative relationship between employment of unskilled labor and minimum wage. Larger negative impact of minimum wage on employment of unskilled labor was found in manufacturing sector, moreover, the study indicated that larger negative impact of minimum wage on employment of female unskilled labor than that of male unskilled labor. To analyze a concurrence between the adjustment of minimum wage rate and the change in productivity of unskilled labor which was defined as a marginal product of unskilled labor estimated from Cobb-Douglas production function, the study showed that during 1995-1996, there were no concurrence between minimum wage adjustment and the change in unskilled labor productivity in both sectors. Eventhough, there was a decrease in average in unskilled labor productivity of manufacturing sector in area 1 and that of construction sector in area 1, 2 and 3 the minimum wage in all areas increased. Therefore, an increase in minimum wage rate in 1995-1996 raised the cost of unskilled labor which finally reduced the employment of unskilled labor. The study suggested that in order to have no effect from minimum wage adjustment on employment of unskilled labor, the increase in minimum wage should be at the same rate as the increase in labor productivity. In addition, the study suggested to have multiple rate in adjusting minimum wage for each industry that had different unskilled labor productivity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6002 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.391 |
ISBN: | 9743469389 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.391 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saowalak.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.